กัลยาณมิตรธรรม : หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูที่ทรงประสิทธิภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากัลยาณมิตรธรรม : หลักการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูที่ทรงประสิทธิภาพ พบว่า ครูเป็นทั้งผู้ให้และแบบอย่างที่ดี มุ่งให้การอบรม สั่งสอนและพัฒนาเยาวชนให้เจริญก้าวหน้าเติบใหญ่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล ทั้งเก่ง ดี มีปัญญา มีคุณธรรม และอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ครูจึงเป็นผู้เคร่งครัดในการประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยยึดถือการปฏิบัติตนตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผน อันดีงามของสังคม มีความซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน อดทน พร้อมอุทิศเวลาให้แก่ราชการยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม และยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในพระพุทธศาสนาได้มีหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นครูดีไว้ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ คือ ความน่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง รู้จักพูด รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ มีความอดทนต่อถ้อยคำ มีการกล่าวชี้แจงและแถลงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ ครูที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูที่ดี มีความสง่างามน่าเลื่อมใส
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ก่อนเท่านั้น
References
กฤษฎา สีจันทร์ฮด. (2557). ศึกษาหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในพระไตรปิฎกสำหรับครู. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปัญญานันทภิกขุ. (2521). วิญญาณของความเป็นครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทอาร์ เอส พริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2540). ขอบฟ้าแห่งความรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2541). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สมชาย เบ็ญจวรรณ และคณะ. (2565). กัลยาณมิตรธรรม: หลักการสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพิกุล, 20(1), 189-206.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือเส้นทางครูมืออาชีพสำหรับครูผู้ช่วย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาชาติ (พ.ศ. 2545-2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุรีย์ มีผลกิจ. (2550). คุณธรรม จริยธรรม สามัคคีธรรม. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์มจำกัด.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2533). สูตรสำเร็จชีวิต. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป.