การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดเกยไชยเหนือ “ประชานุกูล” อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อรยาวดี มาศขาว
พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย เรื่องพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพโดยรวม (E1/E2) 83.33/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนสื่อมัลติมีเดีย พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.45, S.D. = 0.17)

Article Details

How to Cite
มาศขาว อ. ., & รบชนะชัย พูลสุข พ. . (2025). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดเกยไชยเหนือ “ประชานุกูล” อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 3(2), R3282. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3282
บท
บทความวิจัย

References

กิติยา พรหมสอน. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างสรรค์นิทานแอนนิเมชั่น ตามจินตนาการด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี : โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี.

ครุฆเงิน สุพรรษา. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิเวศน์ วงศ์ประทุม. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระวชิรญาณ์ เต็งวราภรภัทร พิทักษ์นิลนพคุณ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดสื่อประสม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 134-146.

มณฑา สุขศรี. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์โดยใช้บทเรียนชุดสื่อประสม มัธยมศึกษาปีที่ 2. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.

รสริน พิมลบรรยงก์ และคณะ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

โสพัฒน์ โสภาภิมุข, เสกสรรค์ แย้มพินิจ พรปภัสสร ปริญชาญกล. (2558). การสร้างบทเรียนมัลตมิีเดียแอนิเมชั่น เรื่อง ศีล 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ-เทคโนฯสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29. (น. 98-107). กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อติพร ปานพุ่ม และวงกต ศรีอุไร. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เรื่องการทดลอง วิทยาศาสตร์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 (NCCIT2014). (น. 425-430). ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.