การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวพุทธ พบว่า พระพุทธศาสนาเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งปัญญา ที่เน้นย้ำในเรื่องหลักประกันของชีวิตที่ดีงาม โดยมีองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับในการศึกษา ได้แก่ การแสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี หรือกัลยาณมิตตตา และความฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง หรือโยนิโสมนสิการ กล่าวได้ว่า การเป็นกัลยาณมิตรของนักเรียนนั้น ต้องพัฒนาให้นักเรียนมีโยนิโสมนสิการหรือการรู้จักคิด คิดเป็นตามแนวปัญญา เพราะโยนิโสมนสิการจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการศึกษา และการพัฒนาชีวิตที่ดีและทันต่อกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มากในสังคมจะต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ และหลักธรรมที่สามารถช่วยได้นั้น คือ หลักของไตรสิกขาซึ่งเป็นหลักธรรมที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ขณะเดียวกันผู้เรียนยังสามารถนำหลักธรรมดังกล่าวนั้นกลับมาพัฒนาชีวิต หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ได้ตามหลักและเป้าหมายที่ต้องต้องการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย รวมถึงด้านจิตใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์ก่อนเท่านั้น
References
กุลทราภรณ์ สุพงษ์ และสิริอร จุลทรัพย์. (2562). การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมตามหลักพุทธศาสนา. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 1-13.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวพุทธสำหรับเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา). คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2552). แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%
ชัยวุฒิ ครุฑมาศ และคณะ. (2564). การพัฒนาต้นแบบศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช. (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เชียรศรี วิวิธสิริ. (2527). จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดวงพร หวานเย็น. (2556). การจัดการการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสารโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ทิพย์วดี เหลืองกระจ่าง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนา ผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธินันท์ มาตา. (2556). การพัฒนาสื่อการสอนแบบซ่อมเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2539). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
พระมหาวีระพงษ์ สิงห์ครุธ. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียนและทักษะทางสังคม สาระพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุน) และคณะ. (2556). สุขที่ได้ธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท ดีไซน์ ดีไลท์ จำกัด.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2538). จรรยาบรรณของข้าราชการ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระศักดิ์ดา งานหมั่น. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 1-10.
พิสิษฏ์ นาสี (2563). ความหมายของการศึกษาเพื่อการพัฒนา. เข้าถึงได้จาก https:// www.academia.edu/44727981/ความหมายของการศึกษาเพื_อการพัฒนา_Development_Education_
มาลี จุฑา (2544). การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
ราชบัณฑิตสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ) กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สาริณี อาษา. (2564). วุฒิธรรม 4 : พุทธธรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 1-9.
อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.
Cronbach, L.J. (1981). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York : Harper & Row Publishers.
Hilgard, E.R. & Bower, H. (1981). Theories of learning. (5th ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.
Kimble, G.A., et.al. (1964). Principles of General Psychology. (2nd ed). New York : Ronald Press Co.
Tyler. R.W. (1971). “Concepts and the teaching. learning. process.” In Selected concepts from educational psychology and adult education for extension and continuing educators. Retrieved from https://www.lib.uchicago.edu/ead/rlg/ICU.SPCL.TYLER.pdf