การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Main Article Content

พระมหาหน่อทราย รตนเมธี
สายัณห์ อินนันใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .835 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 300 คน จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 1,194 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.23, S.D. = 0.54) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .470**) และ 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า (1) ขาดการแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (2) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง (3) ผู้ปกครองท้องที่จัดทำโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน ไม่ตรงกับความการของประชาชน (4) ผู้ปกครองท้องที่ไม่มีข้อมูลมอกพอในการประเมินผลโครงการและขาดความรู้ในการประเมินผลโครงการนั้น ๆ ข้อเสนอแนะพบว่า (1) ผู้ปกครองท้องที่ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมวิเคราะห์ กลั่นกรองปัญหาในการประชุมทุกครั้ง (2) ผู้ปกครองท้องที่ควรแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (3) ผู้ปกครองท้องที่ควรเชิญชวนและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้าไปมีร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชนด้วยกัน

Article Details

How to Cite
พระมหาหน่อทราย รตนเมธี, & อินนันใจ ส. . (2025). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 3(2), R1031. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/1031
บท
บทความวิจัย

References

ปัญจพร คำโย และคณะ. (2563). ความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 32-49.

พระมหาพัฒนา วฑฺฒนญาโณ และคณะ. (2565). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 43–54.

พระสมุห์อมร อมโร (สีดำ) และคณะ. (2562). หลักสาราณียธรรม : แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1726-1742.

พิสิฐพงศ์ สีดาว. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร.(วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา, เล่มที่ 134 ตอนที่ 40, หน้า 1.