พัฒนาเทคนิคศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted <p><strong>About the Journal</strong><br /><strong>วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา (Journal of Technical Education Development)</strong><br /><strong>ISSN 0857-5452 ฉบับตีพิมพ์</strong><br /><strong>ISSN 2651-2238 ฉบับออนไลน์</strong><br /> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่ บทความวิชาการ บทความวิจัยที่เกี่ยวกับสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สหวิทยาการด้านการศึกษา การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ และเทคโนโลยีการศึกษา</p> <p> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ<br /> • ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม<br /> • ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน<br /> • ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน<br /> • ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม</p> <p> <strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา</strong> <br /> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มีการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสาขาอาชีพ โดยผู้ประเมิน (Reviewer) ทราบชื่อผู้นิพนธ์(Author แต่ผู้นิพนธ์ (Author) จะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อผู้ประเมิน(Reviewer) เป็นการประเมินแบบ Single blind review โดยที่ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญของแต่ละบทความดังต่อไปนี้<br /> 1. ผลการวิจัยที่แสดงในบทความจะต้องเป็นผลงานที่แท้จริงของผู้นิพนธ์เอง และต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน (Plagiarism)<br /> 2. บทความต้นฉบับมีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ ต้องเขียนด้วยภาษาไทยและมีการแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์<br /> 3. บทความวิจัยต้องดำเนินการตามได้มาตรฐานโดยทั่วไปของหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์ควรบ่งชี้ว่า ได้ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์<br /> 4. บรรณาธิการสามารถยุติการประเมินบทความของผู้ประเมิน หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือเงื่อนไข หรือเมื่อผู้ประเมินได้ตกลงที่จะประเมินบทความแล้ว ต่อมาพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแจ้งบรรณาธิการโดยทันที เพื่อที่จะปฏิเสธการประเมินบทความนั้นต่อไป</p> th-TH [email protected] (ดร.จินตนา ถ้ำแก้ว) [email protected] (ปรางใจ ใจอิ่ม) Mon, 04 Mar 2024 09:18:54 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3945 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือ สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การประชุมสนทนากลุ่มกลุ่มประชาพิเคราะห์ (Focus Group Discussion) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจ การใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปฎิบัติการซึ่งดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยมุ่งเน้นการวิจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service) และกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดิจิทัล ในการประชุมสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 428 คน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ความรู้ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเฉพาะสายงาน 2) ความรู้ในการนำระบบดิจิทัลไปประยุกต์ใช้งาน 3) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะดิจิทัล 4) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบระบบเพื่อผลสำเร็จของงาน 5) ทักษะการสื่อสารและการแก้ไขปัญหา 6) ทักษะการบริหารงาน 7) ทักษะในการเรียนรู้และปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 8) คุณลักษณะด้านวิชาชีพ 9) คุณลักษณะด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ 10) กรอบความคิดแบบเติบโต ส่วนคู่มือแนวปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและสามารถนำไปใช้และพัฒนาได้จริง</p> บริดตา อินรัญ, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, ธีรวัช บุณยโสภณ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3945 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง หลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3946 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ &nbsp;1) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย &nbsp;2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 90 คน ประกอบด้วยอาจารย์ 10 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 50 คน สถาปนิก 20 คน และวิศวกร 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามความคิดเห็นต่ออุปสรรคและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อการสอน และด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ว่างและอาคาร &nbsp;สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า &nbsp;1) ผลการศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน การสอนทฤษฎี อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา และสถาปนิก มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาทฤษฎีเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด แต่วิศวกร มีความคิดเห็นว่า การอธิบายเนื้อหาและประสบการณ์ของผู้สอนเป็นปัญหามากที่สุด การสอนภาคปฏิบัติ ทุกคนให้ความคิดเห็นว่า การปฏิบัติงานจริงเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด การศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์ความคิดเห็นว่า การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่า การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด สถาปนิก และวิศวกร มีความคิดเห็นว่า หนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด การค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด &nbsp;ด้านที่ 2 องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง 3 กลุ่ม Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM) อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า การมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า Equipment and System (Prefabs) และ Construction Robotics อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิกมีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด User Interface เช่น Virtual Reality (VR) อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา และวิศกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด เสนอแนะว่า ควรให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในช่วงชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ด้านที่ 3 ด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน พื้นที่ว่าง อาจารย์ และสถาปนิก เห็นควรให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่ใช้ในก่อสร้างจริงของอาคารตัวอย่างเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษาเห็นควรให้มีการพัฒนาพื้นที่ใช้ในการสอนด้วยรูปแบบการปฏิบัติเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกรเห็นควรให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่ใช้ในการสอนด้วยรูปแบบการปฏิบัติเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและผู้สอน มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ จัดสัมมนาและนิทรรศการ ควรให้ผู้เรียนมีส่วนในการออกแบบ เน้นการปฏิบัติงานจริง อาคาร อาจารย์ และสถาปนิก มีความคิดเห็นว่า ด้านขนาดพื้นที่ต่อการใช้งานของอาคารเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา และวิศวกร มีความคิดเห็นว่า ด้านสภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบอาคารเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะอาคารสามารถรองรับการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ได้ในระบบการทำงานจริงมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับการทำงานและสามารถผ่อนคลาย เพียงพอกับจำนวนของผู้ใช้ พื้นที่ในอาคารควรมีมุมสงบ สามารถนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจและมีอากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม&nbsp; สภาพแวดล้อมและการจัดวางพื้นที่โดยรอบสนับสนุนต่อการทำงาน มีห้องปฏิบัติการ สำหรับการทดลองหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อรองรับความคิดเห็นของนักศึกษา 2) ผลการศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน การสอนทฤษฎี เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 การสอนภาคปฏิบัติ เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 การศึกษาด้วยตนเอง&nbsp; เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 ด้านที่ 2 องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง 3 กลุ่ม Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM) เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 Equipment and System (Prefabs) และ Construction Robotics เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 User Interface เช่น Virtual Reality (VR) เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4ด้านที่ 3 ด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน พื้นที่ว่าง มีพื้นที่สำหรับการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้สะดวก รวดเร็ว มีอุปกรณ์ให้ใช้หลากหลาย ในการทำ Workshop มีพื้นที่ที่มีอุปกรณ์การก่อสร้าง พื้นที่ให้ลงมือทำงานเองได้จริง โดยได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงด้วยตนเองของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการทำงานมากขึ้น มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อเทคโนโลยีก่อสร้างในปัจจุบันและอนาคต มีพื้นที่การปฏิบัติสำหรับทำการสัมมนา และจัดนิทรรศการ (Exhibition) สำหรับอาคาร สามารถรองรับการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ได้ในระบบการทำงานจริงมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับการทำงาน เหมาะในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมสนับสนุนต่อการทำงาน มีห้องปฏิบัติการ สำหรับการทดลอง รองรับการจัดแสดงผลงาน นำเสนอผลงานของนักศึกษา</p> ปารเมศ รินทะวงศ์, ต้นข้าว ปาณินท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3946 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3947 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ในสภาพปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูช่างอุตสาหกรรมในโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และครูช่างอุตสาหกรรมในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br>(One-Way ANOVA)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านทักษะ (Skills) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามลำดับแรก พบว่า ด้านความรู้ (Knowledge) มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการเขียนเกมบนเว็บไซต์ด้วยระบบ WebVR ผ่านโปรแกรม Unity รองลงมาคือ การเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor และความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการสร้างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน สำหรับความต้องการพัฒนาศักยภาพ ด้านทักษะ (Skill) พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor รองลงมาคือ ทักษะในการใช้งานโปรแกรม SteamVR ร่วมกับโปรแกรม Unity ในการสร้างเกม และทักษะในการพัฒนา Mobile VR ด้วย Unity ในขณะที่ความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มีความต้องการพัฒนาศักยภาพความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รองลงมาคือ การมีบุคลิกภาพและกิริยาท่าทางที่เหมาะสม และความมีระเบียบวินัย และครูช่างอุตสาหกรรมที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพ<br>ครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) ไม่แตกต่างกัน</p> สนธยา บุญประเสริฐ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3947 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3948 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาระดับการรับรู้การบริหารจัดการและระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อีกทั้งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบ โดยการรวบรวมข้อมูล เอกสาร ดำเนินการกำหนดกลุ่มประชากร ออกแบบและสร้างเครื่องมือแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติโดยโปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณเป็นค่าสถิติต่าง ๆ และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95 (p-value &lt; 0.05) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร 122 ราย พบว่า ภาพรวมระดับการรับรู้การบริหารจัดการเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มีการรับรู้ในระดับปานกลาง และภาพรวมระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มีการปฏิบัติในระดับเบื้องต้น และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้การบริหารจัดการเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริการวิชาการ มี 1 ปัจจัย คือตำแหน่ง สรุปได้ว่าบุคลากรในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน มีระดับการรับรู้สูงกว่าตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ แต่ทั้ง 2 ตำแหน่งไม่มีความแตกต่างจากตำแหน่งอื่น บุคลากรในสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (ITDI) มีระดับการรับรู้สูงกว่าสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา (ITED) และสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย-เยอรมัน (TGDE) โดยที่สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส (TFII) มีระดับการรับรู้ไม่แตกต่างกับหน่วยงานอื่น ในด้านระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก มีระดับการรับรู้ในระดับสูง ส่วนระดับปริญญาโท ปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรี มีระดับการรับรู้ในระดับปานกลาง แต่ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนในด้านของระดับการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามตำแหน่ง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;จากผลการวิจัยนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานการให้บริการวิชาการ ควรให้มีการอบรมจากผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญ และในส่วนงานต้องมีการอธิบายชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ และเกิดศักยภาพในการรองรับงานบริการวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต่อไปในอนาคต</p> บุญญรัตน์ ม่วงเนย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3948 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3949 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อคำถาม (IOC) และแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพ ได้แก่ ค่า IOC และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า &nbsp;(<img title="\alpha" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\alpha">)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า &nbsp;1) ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ซึ่งมีค่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการสามารถนำแบบประเมินสมรรถนะไปใช้ประเมินการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาได้&nbsp; 2) ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู โดยเป็นการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.850 ซึ่งสามารถนำแบบประเมินไปใช้ได้</p> กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3949 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3950 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ 2) ศึกษาระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ และ 3) เปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 187 คน โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.61 เป็นเพศหญิง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในช่วง 3.51-4.00 คิดเป็นร้อยละ 51.87 โดยผู้ปกครองของนักเรียนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.22 ซึ่งรายได้ของครอบครัวอยู่ที่ประมาณเดือนละมากกว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.94 และผู้ปกครองของนักเรียนรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 24.60 2) ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสุขอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมองโลกใน รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบรรยากาศในการเรียน และน้อยที่สุดคือ ด้านความภูมิใจในตนเอง &nbsp;&nbsp;และ 3) การเปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อรอุมา ธรรมดี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3950 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3952 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลและ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ผู้บริหารระดับสูง พันธมิตรและนักวิชาการในธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรม กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามเชิงปริมาณ จำนวน 395 คน เป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบองค์ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลประกอบด้วย7 องค์ประกอบคือ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2) สมรรถนะในการบริหาร 3) การนำองค์กร 4) การบริหารกระบวนการออกแบบ 5) การบริหารการเปลี่ยนแปลง) 6) การบริหารความเสี่ยง 7) การบริหารตามสถานการณ์ คู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลส่วนที่ 1 เป็นองค์ประกอบของคู่มือและส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล รูปแบบและคู่มือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของเนื้อหาในระดับร้อยละ 98 และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลได้</p> ชนัญชิดา ขวัญใจ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ภาวิณี บุณยโสภณ, ปรีดา อัตวินิจตระการ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3952 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3953 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี 2) ศึกษาความสำคัญกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำคัญกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี&nbsp; กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี จำนวน 148 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 16-18 ปี &nbsp;โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.51ขึ้นไป ซึ่งกำลังเรียนในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และนักเรียนมีรายรับต่อเดือนประมาณ 501-1,000 บาท 2) ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ทั้ง 7 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านครูผู้สอน ด้านหลักสูตร และด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่สนับสนุนการสอน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี พบว่า เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี นอกนั้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พชรพงษ์ โพธิ์น้อย, ธนภพ โสตรโยม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3953 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3954 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากประชากรคือ ผู้สำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน จำนวน 109 คน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบหลายตัวแปร ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบซ้อน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน ได้แก่ <strong>(</strong>1) ปัจจัยจากตัวผู้เรียน คือ ด้านแรงจูงใจและเจตคติ (X<sub>1</sub>) ด้านพฤติกรรมการเรียน (X<strong><sub>2</sub></strong>) <strong>(</strong>2) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ด้านผู้สอน<strong>/</strong>วิทยากร/อาจารย์ที่ปรึกษา (วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ) (X<strong><sub>3</sub></strong>) ด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (X<sub>4</sub>) <strong>(</strong>3) ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก คือ ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว (X<sub>6</sub>) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน (X<sub>7</sub>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาพรวม สามารถนำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p>y = .47 + .29X<sub>1</sub> + .26X<sub>2</sub> + .17X<sub>3</sub> + .20X<sub>4 </sub>- .12X<sub>6</sub> + .26X<sub>7</sub></p> จรียากรณ์ หวังศุภกิจโกศล, ปอนด์ ทฤษฎิคุณ, ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3954 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรม เขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3955 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในกิจการและปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานของภาพรวมในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน จำนวน 15 ราย&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยภายในกิจการและปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมมีปัจจัยการจัดหาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก การให้รางวัลผลตอบแทนอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และการจัดการความก้าวหน้าในสายอาชีพอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมมีค่าร้อยละ 64.44 และ 3) ข้อคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากองค์การควรมีกิจกรรมเสริมทักษะที่เน้นตรงตามสายงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ลดปัญหาความล้าช้าในการทำงานส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน</p> พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา, วัฒนา พิลาจันทร์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3955 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3956 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่โรงเรียนอนุบาลของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์คำถามปลายเปิด &nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย มีประสบการณ์การทำงานดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 10 ปีขึ้นไป และสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดเล็ก ไม่เกิน 50 คน การดำเนินการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการช่วยเหลือเด็กเล็กในการปรับตัวทางสังคมและความพร้อมทางการเรียนเพื่อเข้าสู่ระดับอนุบาล โดยการจัดกิจกรรมเพื่อปรับพื้นฐานและเตรียมความพร้อมสู่ระดับอนุบาลให้กับเด็กเล็ก</p> บุญญลักษม์ ตำนานจิตร, สายสุดา ปั้นตระกูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3956 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3957 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป เครื่องมือในงานวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และการประชุมสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การบริหารธุรกิจประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ การควบคุมต้นทุน การบริหารองค์กร และโลจิสติกส์ 2) การผลิต ประกอบด้วย กระบวนการ และการตรวจสอบคุณภาพ 3) การตลาด ประกอบด้วย การนำเสนอสินค้า และการกระตุ้นยอดขาย&nbsp; 4) อัตลักษณ์ตราสินค้า ประกอบด้วย การสร้างความแตกต่าง และการสร้างมูลค่าสินค้า 5) การออกแบบ ประกอบด้วย การออกแบบเฉพาะกลุ่ม และการออกแบบตามเทรนด์แฟชั่น 6) ภาวะผู้นำประกอบด้วย จริยธรรม และนวัตกรรม 7) มนุษยสัมพันธ์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ภายในองค์กร และความสัมพันธ์ภายนอกองค์กร&nbsp; คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้ 1) การแนะนำคู่มือ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และคู่มือแนวทางการพัฒนาพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวม และมีความเหมาะสมในระดับร้อยละ 90</p> วิจิตรา สรรพอาษา, ธีรวัช บุณยโสภณ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ปรีดา อัตวินิจตระการ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3957 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3958 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้บริโภคจำนวน 30 คน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า เมื่อนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร มาทดสอบประสาทสัมผัส พบว่า ผู้เชี่ยวชาญชิมทั้ง 5 ท่านได้ให้ความชอบเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; โดยผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนสูตรที่ 2 มากที่สุด ซึ่งมีส่วนผสมของถั่วเหลือง 50 กรัม ถั่วลันเตา 60 กรัม ถั่วขาว 40 กรัม เห็ดหอม 10 กรัม และบีทรูท 5 กรัม เนื่องจากมีกลิ่นหอมและรสที่ดีกว่าสูตรที่ 1 และสูตรที่ 3 จึงทำการเลือกสูตรที่ 2 เพื่อทำการทดสอบในขั้นต่อไป 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า ได้จากการศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว มาเสริมรากบัวในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 15 และ 20 ทำการทดสอบการยอมรับโดยผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส จำนวน 30 คน การเสริมรากบัวในอัตราส่วน 10 : 100 ได้รับการยอมรับมากที่สุด 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน พบว่า ปริมาณไฟเบอร์ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วทั้ง 2 สูตร หลังจากใช้โปรแกรมคำนวณอาหาร INMUCAL - Nutrients 4.0 พบว่า องค์ประกอบในด้านเส้นใยอาหารและโปรตีน ในสูตรพัฒนามีปริมาณมากกว่าสูตรพื้นฐานและ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความชอบมาก 2 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านรูปร่างและด้านสี ส่วนด้านรสชาติ ด้านกลิ่น ด้านเนื้อสัมผัสและด้านความชอบโดยรวมอยู่ในระดับคะแนนยอมรับชอบปานกลาง และร้อยละ 93.33 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว &nbsp;และหาการยอมรับของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวไปใช้ปรุงอาหาร โดยวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมกับเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวโดยใช้ 4 วิธีการปรุงคือ การต้ม คือ เมนูต้มจืด การผัด คือ เมนูผัดพริกเกลือ การแกง คือเมนูแกงเขียวหวานและการทอด คือ เมนูทอดเกลือ โดยการทอดได้รับการยอมรับมากที่สุดโดยมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> ชนัฐวัฒน์ ศิริเอี้ยวพิกูล, ธนภพ โสตรโยม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3958 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3959 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมาย จำนวน 19 ท่าน ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองกฎหมาย หรือเทียบเท่าที่ปฏิบัติหน้าที่กำกับ ดูแล และบังคับบัญชานิติกรในองค์กรของรัฐและเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัย กระทรวง สำนักงานอัยการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อการสัมภาษณ์&nbsp; แบบสอบถามปลายปิดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควลไทล์ (IQR)&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน และ 15 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1. ด้านความรู้ มี 5 สมรรถนะหลัก คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. การจัดตั้งมหาวิทยาลัย ระเบียบ และประกาศมหาวิทยาลัย 2) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการเงิน พัสดุของทางราชการ และกฎหมายแรงงาน&nbsp; 3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางเทคโนโลยีดิจิทัล 4) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา และกฎหมายพิเศษ และ 5) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ และความรู้ภาษาอังกฤษ&nbsp; 2. ด้านทักษะ มี 6 สมรรถนะหลัก คือ 1) ทักษะการตีความ สรุปเรื่อง และวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย 2) ทักษะในการยกร่างกฎหหมาอนุบัญญัติ งานคดี และงานสอบสวนต่าง ๆ 3) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลในงานกฎหมาย 4) ทักษะในการปฏิบัติงานนิติกรรม สัญญา และข้อตกลง 5)&nbsp; ทักษะในการสื่อสาร ประสานงาน และการเจรจาไกล่เกลี่ย และ 6 ทักษะในการจัดเก็บ สืบค้น และให้บริการข้อมูลทางกฎหมาย และ 3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 4 สมรรถนะหลัก คือ 1) มีความใฝ่รู้ รักองค์กร รักงานด้านกฎหมาย มีใจให้บริการ และกล้าแสดงออก 2) มีความมุ่งมั่น รับผิดชอบ กระตือลือรือร้น ขยัน ตรงต่อเวลา&nbsp; 3) ยึดมั่นในคุณธรรม จรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ และมีเหตุผล&nbsp; และ4) มีระเบียบวินัย และมีความรอบคอบในการปฏิบัติงาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากการประชุมสนทนากลุ่ม &nbsp;มีความเห็นว่าองค์ประกอบของรูปแบบมีความเหมาะสม ครบถ้วน ชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้</p> รุ่งทิพย์ ฮุนตระกูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3959 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3942 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา การสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาจำเป็นต้องนำการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยมีรากฐานแนวคิดจากทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในชั้นเรียน ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คอยส่งเสริมให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว สนใจเนื้อหาบทเรียน และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์มีความสามารถในการแก้ปัญหา&nbsp; เนื่องจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการวัดการประเมินผลของ PISA ซึ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากการทดสอบระดับนานาชาติของ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ทำให้ทักษะการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในผลลัพธ์การเรียนรู้</p> บุญญลักษม์ ตำนานจิตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3942 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการคำนวณ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3943 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหา ผ่านการให้ข้อเสนอแนะ และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ที่ตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้และความชอบต่างๆ เมื่อรวมเทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มเข้ากับการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการแก้ปัญหาการคำนวณที่ซับซ้อนได้ อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานในปัจจุบัน การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร เมื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ผู้เรียนจะสามารถสำรวจหัวข้อเฉพาะในเชิงลึกและเข้าใจเนื้อหาในเรื่องข้อนั้นๆ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น</p> สายสุดา ปั้นตระกูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3943 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700 Bibli-Omino: เกมเพื่อเรียนรู้การเขียนบรรณานุกรม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3944 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เกม Bibli-Omino เป็นแนวคิดการนำเกมมาส่งเสริมและพัฒนาการเขียนบรรณานุกรม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือช่วยจัดทำการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่เป็นอัตโนมัติ แต่อาจมีอุปสรรคสำหรับข้อมูลภาษาไทย จึงเป็นเหตุให้ผู้นิพนธ์ผลงานวิชาการยังจำเป็นต้องใส่ข้อมูลแต่ละรายการของเอกสารนั้น ๆ ด้วยตนเอง ผู้นิพนธ์ผลงานวิชาการจำนวนมากมีปัญหาในการเขียนข้อมูลรายการต่าง ๆ ของแหล่งสารสนเทศที่มีรายละเอียดแยกย่อยอยู่พอสมควร Bibli-Omino เป็นเกมที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ในการเขียนบรรณานุกรมให้มีความถูกต้องตามหลักการและกฎเกณฑ์ตามรูปแบบ APA ผ่านการเล่นเกม</p> บรรพต พิจิตรกำเนิด Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3944 Thu, 14 Mar 2024 00:00:00 +0700