พัฒนาเทคนิคศึกษา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted
<p><strong>About the Journal</strong><br /><strong>วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา (Journal of Technical Education Development)</strong><br /><strong>ISSN 0857-5452 ฉบับตีพิมพ์</strong><br /><strong>ISSN 2651-2238 ฉบับออนไลน์</strong><br /> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่ บทความวิชาการ บทความวิจัยที่เกี่ยวกับสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สหวิทยาการด้านการศึกษา การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ และเทคโนโลยีการศึกษา</p> <p> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 4 ฉบับ คือ<br /> • ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มีนาคม<br /> • ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน–มิถุนายน<br /> • ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม–กันยายน<br /> • ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม–ธันวาคม</p> <p> <strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา</strong> <br /> วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มีการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสาขาอาชีพ โดยผู้ประเมิน (Reviewer) ทราบชื่อผู้นิพนธ์(Author แต่ผู้นิพนธ์ (Author) จะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อผู้ประเมิน(Reviewer) เป็นการประเมินแบบ Single blind review โดยที่ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญของแต่ละบทความดังต่อไปนี้<br /> 1. ผลการวิจัยที่แสดงในบทความจะต้องเป็นผลงานที่แท้จริงของผู้นิพนธ์เอง และต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน (Plagiarism)<br /> 2. บทความต้นฉบับมีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ ต้องเขียนด้วยภาษาไทยและมีการแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์<br /> 3. บทความวิจัยต้องดำเนินการตามได้มาตรฐานโดยทั่วไปของหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์ควรบ่งชี้ว่า ได้ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์<br /> 4. บรรณาธิการสามารถยุติการประเมินบทความของผู้ประเมิน หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือเงื่อนไข หรือเมื่อผู้ประเมินได้ตกลงที่จะประเมินบทความแล้ว ต่อมาพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแจ้งบรรณาธิการโดยทันที เพื่อที่จะปฏิเสธการประเมินบทความนั้นต่อไป</p>
สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
th-TH
พัฒนาเทคนิคศึกษา
0857-5452
-
เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการจัดการขยะในสังคมวิถีปกติใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5537
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวคิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการจัดการขยะในสังคมวิถีปกติใหม่ ประกอบด้วย 1) วิทยาการหุ่นยนต์ 2) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และโครงข่ายประสาท 3) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง 4) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 5) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 6) แอปพลิเคชันเพื่อธุรกิจธนาคารขยะ โดยการรวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยเพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสนับสนุนการจัดการขยะ และเพิ่มประสิทธิภาพในจัดการขยะรีไซเคิลในสังคมวิถีปกติใหม่</p>
ภูริพจน์ แก้วย่อง
ชูติวรรณ บุญอาชาทอง
แทนทัศน์ เพียกขุนทด
สายสุดา ปั้นตระกูล
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
37 132
3
10
-
การส่งเสริมและยกระดับศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001 : 2015
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5539
<p> บทความนี้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและยกระดับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ SMEs ของไทย ตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล จึงได้จัดกิจกรรมยกระดับความเชื่อมั่นธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐานสากล ภายใต้โครงการสร้างศักยภาพและโอกาสทางการค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย ปีงบประมาณ 2565</p> <p> โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างความรู้ พัฒนา และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 (ด้านระบบบริหารงานคุณภาพ) หนุนผู้ประกอบการนำระบบมาตรฐาน ISO 9001 เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยการส่งเสริมเริ่มจาก 1) ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ประกอบการ 2) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญ การตีความและจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และ 3) ให้คำปรึกษาทั้งแบบหน้างานจริง ณ สถานประกอบการ และผ่านระบบ Zoom Video Communications ผลจากการดำเนินการ พบว่า ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สามารถจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และได้รับใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 จำนวน 37 กิจการ แสดงให้เห็นว่า แนวทางการส่งเสริมดังกล่าวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์กิจกรรม</p>
ชาญวิทย์ ตั้งสิริวรกุล
สถาพร ร่วมนาพะยา
อภิรพร สุจริตรังษี
นภัส รุ่งโรจน์รัตนากร
ฐาปนา สร้อยทอง
ณัฏฐา น้อยเจริญ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
37 132
11
19
-
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน และพฤติกรรมการทำงานของพนักงานวิศวกร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5541
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานของพนักงานวิศวกร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจำแนกตามกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ พนักงานวิศวกรปฏิบัติการในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 589 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลวิจัย พบว่า ปัจจัยองค์กรที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับได้แก่ การสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน ด้านการมอบหมาย การให้โอกาสในการพัฒนาและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านมีความพยายามในงาน <br>อยู่ในระดับมากเป็น 3 ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านมีความรู้ความสามารถในงาน มีจิตใจจดจ่อในงาน และความรักในงาน พนักงานวิศวกรที่มีเพศต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรแตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานวิศวกรที่มีอายุแตกต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมในการทำงานแตกต่างกัน พนักงานที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรและมีพฤติกรรมการทำงานไม่แตกต่างกัน และปัจจัยองค์กรด้านการสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน ด้านการมอบหมายงานและด้านการให้โอกาสในการพัฒนามีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p>
นิธิภัทร ถาวรนารถ
ธีรวัช บุณยโสภณ
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
37 132
20
26
-
การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมและการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5542
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) ที่มีความสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการประเมินวัดความพร้อมขององค์กร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม และการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่มีความเหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรม และ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม และการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล ขั้นตอนงานวิจัย ดังนี้ วิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพ และวิเคราะห์รูปแบบการประเมินวัดความพร้อมขององค์กรที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม นำข้อมูลมาพัฒนากรอบโครงร่างหลักสูตร และนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในการประเมินกรอบโครงร่างหลักสูตรฯ</p> <p> ผลการวิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เหมาะสม คือ อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) และกรอบประเมินดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาจัดทำหลักสูตร ตามข้อกำหนดงานในการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม โดยทำการออกแบบหลักสูตรจำนวน 2 หลักสูตร มีระยะเวลาในการฝึกอบรม 15 วัน (ไม่อบรมต่อเนื่อง) หรือ 90 ชั่วโมง 1) หลักสูตรนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ในสถานประกอบการ เพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล 2) หลักสูตรอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในสถานประกอบการ เพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล หลักสูตรฯ ที่ออกแบบมีเนื้อรายละเอียดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและเงื่อนไขขอบเขตงานกิจกรรม ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นชอบให้ใช้ในการอบรมผู้ประกอบการต่อไป</p>
ชัยพิพัฒน์ ศรีมณีชัย
ดวงกมล โพธิ์นาค
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-09
2024-12-09
37 132
27
39
-
การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5551
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และกลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) “ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 สารสนเทศสุขภาพ 1.2 การบริการสุขภาพและป้องกันโรค 1.3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 1.4 ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ องค์ประกอบที่ 2) “ด้านการบำบัดรักษา” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การให้บริการด้านการรักษาโรค 2.2 การจัดระบบบริการ การรักษาพยาบาล องค์ประกอบที่ 3) “ด้านการฟื้นฟูสุขภาพ” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1 การฟื้นฟูสุขภาพด้วยตนเอง 3.2 การฟื้นฟูสุขภาพและการให้การช่วยเหลือผู้ป่วย และองค์ประกอบที่ 4) “ด้านการส่งต่อการรักษา” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1 การประสานงานการส่งต่อ 4.2 ข้อมูลสารสนเทศ 2) จัดทำคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยได้ยกร่างคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ที่ได้ผ่านการพิจารณาจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) มาจัดทำเป็นคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำการใช้คู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัลได้รับการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับดีเพื่อพัฒนาการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัลได้</p>
เขมณัฏฐ์ ยุทธวิสุทธิ์
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-11
2024-12-11
37 132
40
48
-
การพัฒนารูปแบบศักยภาพบุคลากรของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5552
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพบุคลากรของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย และ 3) จัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และกลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบศักยภาพบุคลากรของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย มีจำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะความรู้ของทีมงานด้านการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะของทีมงานด้านการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 4 ศักยภาพด้านการวางแผนและประเมินผลการจัดการความรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดการความรู้ 2) คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำคู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจาก<br>ผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับมากที่สุดเพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยได้</p>
ศศิภา จันทรักษ์
ไพโรจน์ สถิรยากร
สักรินทร์ อยู่ผ่อง
วิเชียร เกตุสิงห์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-11
2024-12-11
37 132
49
59
-
การพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้สำหรับการเลือกซื้ออาหารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5583
<p> การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้การเลือกซื้ออาหารวิชาเพิ่มเติม 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ จากการใช้สื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้การเลือกซื้ออาหาร วิชาเพิ่มเติม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการที่มีต่อสื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหาร วิชาเพิ่มเติม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 42 คน ซึ่งผู้ศึกษาเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้แแบบประเมินคุณภาพสื่อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที<br> ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) การสร้างสื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้การเลือกซื้ออาหารวิชาเพิ่มเติม พบว่า การประเมินความเหมาะสมของสื่อการสอน โดยภาพรวมมีคุณภาพในระดับดีมาก ส่วนด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก และเทคโนโลยีการศึกษา ได้คุณภาพดีมากทุกด้าน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ จากการใช้สื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้การเลือกซื้ออาหาร วิชาเพิ่มเติม พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 73.7 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการที่มีต่อสื่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับการเรียนรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหาร วิชาเพิ่มเติม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี ด้านตัวสื่อรูปแบบเกมเป็นฐานอยู่ในระดับดีมาก และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่ออยู่ในระดับดีมาก</p>
จิณณ์อธิป ทองมีวงศ์
ธนภพ โสตรโยม
เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
37 132
60
68
-
การประเมินโครงการการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ศึกษา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5584
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้หลักสูตรรายวิชาสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP<sub>IEST </sub> Model ประเมินทั้งระบบของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 1,868 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูฝ่ายแผนงานและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 20 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 18 คน ครูหัวหน้าคณะ จำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 1,480 คน และผู้ปกครอง จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 4.1) ผลการประเมินด้านผลกระทบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2) ผลการประเมินด้านประสิทธิผล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3) ผลการประเมินด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ <br>4.4) ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-12
2024-12-12
37 132
69
78
-
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมิติบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการยุค 4.0 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5585
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบมิติบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการยุค 4.0 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 1,570 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่างใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ได้รับแบบสอบถามคืนมา จำนวน 394 ชุด โดยการวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับคณะจำนวน 5 คณะ ผลการวิจัยพบว่า มิติบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นองค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีค่า Chi-Square =245.08, df=210, P= 0.050 , CMIN/df=1.167, GFI = 0.948, AGFI= 0.925, CFI=0.989, RMSEA=0.022 และผู้บริหารระดับคณะมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มิติบุคคล ประกอบด้วย การรับรู้ แรงจูงในการทำงาน และความสามารถในการปรับตัว</p>
ธนัชชา คงสง
พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
79
87
-
คุณค่าข้อมูลบัญชีหลังใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5586
<p> การศึกษาคุณค่าข้อมูลบัญชีหลังการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความสามารถของข้อมูลทางบัญชีว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของตัววัดมูลค่า ข้อมูลทางบัญชีสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ได้หรือไม่ และสามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้อย่างไร โดยใช้ตัวแบบจำลองทางการเงินของ Ohlson (1995) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์ความสามารถของข้อมูลบัญชี ประกอบด้วยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) กำไรต่อหุ้น (EPS) กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เปิดเผยผลกระทบจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มาถือปฏิบัติ โดยศึกษาข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2563 จำนวน 1,712 บริษัท</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาข้อมูลทางบัญชีทั้งรายการมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) และกำไรต่อหุ้น (EPS) มีความสามารถในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้ในเชิงบวก เมื่อเปรียบเทียบตามช่วงเวลา พบว่าก่อนใช้มาตรฐานฯ ฉบับที่ 15 กำไรต่อหุ้น (EPS) จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ได้ดีกว่า มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) เมื่อนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มาถือปฏิบัติพบว่าข้อมูลทางบัญชีอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้น้อยกว่าการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม โดยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) มีความสัมพันธ์สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ดีกว่ารายการกำไรต่อหุ้น (EPS)</p>
สุพรรณรัตน์ มาศรัตน์
พัทธนันท์ เพชรเชิดชู
ศิริเดช Siridech
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
88
97
-
ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารในงานพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5587
<p> การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประวัติความเป็นมาและบริบทชุมชนของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร 2) ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารในงานพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร และ 3) จัดทำตำรับอาหารในพิธีกรรมสำรับอาหารอัมเบิ๊งสูตรดั้งเดิมของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวา ดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยทดลองโดยศึกษาเก็บข้อมูลและทำการทดสอบประสาทสัมผัส จากประชากรชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวา 50 ครัวเรือน กลุ่มประชากรตัวอย่าง 50 ครัวเรือนและปราชญ์ชุมชนจำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบทดสอบทางประสาทสัมผัส 9-point hedonic scale สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา<br> ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานครนั้นสืบเชื้อสายมากชาวมุสลิมเชื้อสายชวาที่ย้ายการตั้งถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในประเทศเทศตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงมีตั้งรกราก ขยายครัวเรือน ก่อสร้างมัสยิตเป็นศูนย์รวมจิตใจ จนเกิดเป็นชุมชนของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาคนจนถึงปัจจุบัน 2) ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวานั้นยังสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารสำรับใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อลำลึกถึงผู้ล่วงลับนั้นคือสำรับอาหารอัมเบิ๊ง ซึ่งประกอบไปด้วยอาหาร 7 ชนิด คือ แกงอะป๊อรไก่,ผัดสะมากอแร๊ง,บัคกาแด๊ล,สะรุนแด๊ง,คะรังอะเซิ้ม,ปลาต๊องกอล และข้าวสวย และ 3) จัดทำตำรับอาหารในพิธีกรรมสำรับอาหารอัมเบิ๊งสูตรดั้งเดิมได้ผลการทดสอบจากทั้งหมด 5 สูตร พบว่า แกงอะป๊อรจากสูตรที่ 4 ผัดสะมากอแร๊งจากสูตรที่ 3 บัคกาแด๊ลจากสูตรที่ 3 สะรุนแด๊งจากสูตรที่ 1 คะรังอะเซิ้มจากสูตรที่ 4 และปลาต๊องก๊อลจากสูตรที่ 2 ได้รับการยอมรับมากที่สุด</p>
ธันวา สุทธิชาติ
ธนภพ โสตรโยม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
98
108
-
การพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทย
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5588
<p> การวิจัยเรื่องการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรและเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรด้านพื้นที่คือ เขตกรุงเทพมหานครจากสโมสรเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล 5 คน จาก 5 สโมสรในกรุงเทพมหานครโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากสโมสรนักกีฬาเทเบิลเทนนิสของประเทศไทย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทยมีดังนี้ 1) ด้านนักกีฬา พบว่ามีเรื่องการไม่ยอมรับผู้ฝึกสอนใหม่เมื่อมีการแบ่งกลุ่มการสอนตามความสามารถ ความพร้อมเพรียงในการมาซ้อม ทัศนคติและพฤติกรรมของนักกีฬาและผู้ปกครอง 2) ด้านผู้ฝึกสอน พบว่ามีเรื่องการพัฒนาตนเอง การถ่ายทอดความรู้หลังจากที่ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆแล้ว 3) ด้านการบริหารจัดการ มีเรื่องการส่งนักกีฬาของสโมสรเข้าร่วมแข่งขันไม่ครบ การขาดผู้สนับสนุน 4) ด้านวิชาการ/องค์ความรู้ ในเรื่องช่วงระยะเวลาการส่งผู้ฝึกสอนเข้ารับการอบรมนานเกินไป ผู้ฝึกสอนขาดทักษะการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ฝึกสอนอื่นในสโมสรและนักกีฬา 5) ด้านเครื่องมือสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า เรื่องสภาพแวดล้อมในการซ้อมแออัดและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ</p>
โฆษณ์การ ฤกษ์ศานติวงษ์
ประเสริฐไชย สุขสอาด
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
109
117
-
รูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5589
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ และนำเสนอรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ เก็บรวมรวมข้อมูลจากประชาชนที่เคยซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรผ่านระบบออนไลน์ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รู้จักสินค้าเกษตรออนไลน์ผ่านการโฆษณาจากสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ โปรแกรมไลน์ และอื่นๆ ใช้เวลาในการใช้งานผ่านสื่อช่องทางขายสินค้าเกษตร น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เวลาในการซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ในช่วงเวลา 20.01 - 24.00 น. ความถี่ในการซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ต่อเดือน 1 ครั้ง ราคาเฉลี่ยในการซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ในแต่ละครั้ง 100 – 300 บาท ตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค ซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ที่บ้าน และซื้อสินค้าเกษตรประเภท ต้นไม้ กล้าไม้ เมล็ดพันธุ์ มากที่สุด ผู้บริโภคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ โดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยอมรับเทคโนโลยี ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ด้านส่วนประสมทางการตลาด และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ พบว่า มีจำนวน 4 ด้าน 16 องค์ประกอบหลัก 88 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านการยอมรับเทคโนโลยี มีจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ มีจำนวน 3 องค์ประกอบหลัก ด้านส่วนประสมทางการตลาด มีจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ มีจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก</p>
กัลยา Kanlaya
ณธษา Nathasa
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
118
129
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/5590
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของคุกกี้เนยสด 2) ศึกษาปริมาณตัวด้วงต้นสาคูที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสด 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อคุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ (LSD)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการคัดเลือกสูตรพื้นฐานผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสด 3 สูตร ผู้ทดสอบชิทให้การยอมรับคุกกี้เนยสดสูตรที่ 2 ประกอบด้วยแป้งสาลีอเนกประสงค์ ผงฟู เนยสดชนิดเค็ม ไข่ไก่ น้ำตาลทรายป่น กลิ่นนมเนย คะแนนความชอบโดยรวม ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส ของคุกกี้อยู่ในระดับชอบมากที่สุด ผลการศึกษาปริมาณตัวด้วงต้นสาคูที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดที่ปริมาณต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 40 60 80 และ 100 ของน้ำหนักแป้งสาลีอเนกประสงค์ที่ใช้ในสูตร พบว่าผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับคุกกี้เนยสดสูตรที่เสริมตัวด้วงต้นสาคูร้อยละ 100 ของปริมาณแป้งสาลีในด้านความชอบโดยรวม ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสในระดับชอบมากที่สุด โดยการเสริมตัวด้วงจากต้นสาคูแบบสดมีผลต่อค่าสีของคุกกี้เนยสด ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการพบว่าตัวด้วงสาคูแบบสด มีโปรตีนร้อยละ 7.74 ไขมันร้อยละ 17.89 และโอเมก้า 3 (ALA) ร้อยละ 0.03 ซึ่งมีผลให้คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู 100 กรัม มีพลังงาน 566.63 กิโลแคลอรี่ ไขมันร้อยละ 36.39 โปรตีนร้อยละ 9.32 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50.46 โอเมก้า 3 (ALA) ร้อยละ 0.10 เถ้าร้อยละ 1.00 กรัม และความชื้นร้อยละ 2.81 โดยปริมาณโปรตีนและไขมันสูงกว่าคุกกี้เนยสดสูตรพื้นฐาน ผลศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อคุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู ผู้บริโภคทั่วไป ร้อยละ 99.17 ให้การยอมรับเพราะผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่น่าสนใจ รสชาติดี อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้บริโภคสนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู ราคากล่องละ 60 บาท ในขนาดบรรจุ 90 กรัม (15 ชิ้น)</p>
จิตติกร สงจันทร์
ชญาภัทร์ Chayapat
น้อมจิตต์ สุธีบุตร
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-13
2024-12-13
37 132
130
140