วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru <p><strong>วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี</strong></p> <p><strong>ISSN : 2730-2199 (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 [2020]- ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 [2024])<br />E-ISSN : 2821-9414</strong></p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร<br /></strong> กำหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ขอบเขตบทความ</strong><br /> ด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH jait@ssru.ac.th (Pimploi Tirastittam, Ph.D.) gitsana.yo@ssru.ac.th (Kridsana Yoopuang) Fri, 21 Mar 2025 15:39:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาระบบวัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3931 <p>การพัฒนาระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมและการใช้งานห้องเรียนด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในงานวิจัยครั้งนี้ ได้สร้างกล่องสำหรับตรวจวัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนจำนวน 10 ชุด เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนของอาคารคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จำนวน 10 ห้อง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2566 โดยบันทึกค่าปัจจัยสภาพแวดล้อมช่วงเวลาที่มีการใช้ห้องเรียน คือ อุณหภูมิและความชื้นอากาศ ค่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อตรวจสอบว่า ห้องเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนหรือไม่ โดยระบบสามารถแสดงระดับคุณภาพอากาศเป็น 3 ระดับ โดยพิจารณาจากค่าปริมาณ PM2.5 ได้ดังนี้ ระดับที่ 1 Fresh Air คือ คุณภาพอากาศดีมาก ที่ PM2.5 ไม่เกิน 15.0 µg/m³ ระดับที่ 2 Moderate Air คือ คุณภาพอากาศปานกลาง ที่ PM2.5 อยู่ระหว่าง 15.0–25.0 µg/m³ ระดับที่ 3 Unhealthy คือ คุณภาพอากาศไม่ดี ที่ค่า PM2.5 มากกว่า 25 µg/m³ จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่อยู่ในระดับที่ 1 คือ คุณภาพอากาศดีมาก จำนวน 8 ห้อง และค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่อยู่ในระดับที่ 2 คือ คุณภาพอากาศปานกลาง จำนวน 2 ห้อง โดยทุกห้องเป็นห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศ ทำให้ค่าอุณหภูมิและความชื้นเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศอยู่ในระดับที่เหมาะสม และค่าแสงสว่างภายในห้องเรียนทั้ง 10 ห้องอยู่ในระดับเหมาะสม งานวิจัยครั้งนี้ได้สร้างหน้าจอแดชบอร์ดเพื่อการแสดงผลข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านเว็บไซต์และบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมบนฐานข้อมูล เพื่อนำมาใช้ทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมและเวลาการใช้งานห้องเรียนในภายหลังได้</p> นัฎฐพันธ์ ์นาคพงษ์, นิติการ นาคเจือทอง, อนิราช มิ่งขวัญ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3931 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700 เว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เขตบางเขน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3968 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เขตบางเขน และประเมินความพึงพอใจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และประชาชนทั่วไป โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 196 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยผลการประเมินและทดสอบแบ่งตามหัวข้อ ดังนี้ (1) ความพึงพอใจในด้านเนื้อหา มีคุณภาพโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.41, S.D. = 0.47) (2) ความพึงพอใจในด้านการใช้สี มีคุณภาพโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.25, S.D. = 0.37) (3) ความพึงพอใจในด้านรูปแบบตัวอักษร มีคุณภาพโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.40, S.D. = 0.44) (4) ความพึงพอใจในด้านการใช้ภาพและภาพเคลื่อนไหว มีคุณภาพโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.23, S.D. = 0.45) (5) ความพึงพอใจในด้านระบบนำทางและการเข้าถึง มีคุณภาพโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.31, S.D. = 0.36) และพบว่า ด้านความพึงพอใจโดยรวมจัดอยู่ในระดับดี ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.25, S.D. = 0.48) ข้อมูลภายในเว็บไซต์มาจากเว็บไซต์ทั่วไป ซึ่งเป็นการดึงข้อมูลภาพมาอยู่ในที่เดียว ทำให้เป็นทั้งผลดีและผลเสียในเวลาเดียวกัน เพราะด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาจากเว็บไซต์ทั่วไปทำให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์อาจได้พบเห็นหรือเคยอ่านบทความที่คล้ายคลึงกันมาก่อน แต่มีผลดีในด้านของการรวมเรื่องราวของเขตบางเขนไว้ในเว็บไซต์เดียว จึงทำให้ผู้ที่สนใจในภาพรวมมาดูที่เว็บไซต์นี้แค่เว็บไซต์เดียวแล้วได้ความรู้ทั้งหมด</p> กิตติศักดิ์ คงพูน, ปทุมรัตน์ พันธ์สุวรรณ, วิชยานนท์ สุทธโส Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3968 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการสนามกอล์ฟและแคดดี้ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4277 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศบนเว็บแอปพลิเคชันเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการสนามกอล์ฟและแคดดี้ที่พบเจอในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการติดต่อประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจัดการข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ และปัญหาการกระจายงานที่ไม่ทั่วถึง โดยแพลตฟอร์มสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย เฟรมเวิร์คจังโก้ (Django) เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาระบบด้วยภาษาไพธอน (Python) ใช้โปรแกรมพีเอชพีมายแอดมิน (phpMyAdmin) ในการติดต่อฐานข้อมูล ใช้เฟรมเวิร์ควิวเจเอส (Vue.js) และ วิวทิไฟ (Vuetify) ที่ช่วยพัฒนาภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) และ ภาษาซีเอสเอส (CSS) ที่ช่วยในการตกแต่งหน้าจอโปรแกรม ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลสนามกอล์ฟ ข้อมูลแคดดี้ การจองสนามกอล์ฟ และการสื่อสารระหว่างสนามกอล์ฟและนักกอล์ฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีด้วยแบบจำลอง TAM (Technology Acceptance Model) จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานและแคดดี้ของธุรกิจสนามกอล์ฟ จำนวน 30 คน พบว่าผู้ใช้งานมีการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.13, S.D. = 0.91) ซึ่งบ่งชี้ว่าระบบมีความใช้งานง่าย มีประโยชน์ และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานจริง ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่พบว่าการรับรู้ถึงประโยชน์และความง่ายในการใช้งานของเทคโนโลยีมีผลเชิงบวกต่อทัศนคติและความตั้งใจในการใช้งาน นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังนำเสนอแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศที่บูรณาการการจัดการข้อมูลสนามกอล์ฟ การจัดการแคดดี้ และการสื่อสารระหว่างสนามกอล์ฟและนักกอล์ฟเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังมีความน่าสนใจในการศึกษาต่อยอดต่อไป เช่น การพัฒนาฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติม การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และการศึกษาผลกระทบของแพลตฟอร์มต่อประสิทธิภาพทางธุรกิจของสนามกอล์ฟในระยะยาว</p> ธีรภพ แสงศรี Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4277 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4357 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี และ (2) หาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนา คือ PHP, HTML, JavaScript, CSS และ Bootstrap 5 เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ตามแนวคิดต้นไม้ตัดสินใจที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม WEKA โดยมีความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่ 90% ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยตามแนวคิด SDLC และมีการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยพบว่า (1) เว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี สามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้ ส่วนสมาชิกสามารถดูรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว ให้คะแนนสถานที่ท่องเที่ยว แสดงความคิดเห็น และใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวได้ และ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.84, S.D. = 0.23)</p> กิตติโชค คุ้มครอง, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, ไพศาล สิมาเลาเต่า Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4357 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ ด้านงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4644 <p>มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีระบบบัญชีและการเงินเพื่อการบริหารจัดการ (PSU MAS) สำหรับจัดการข้อมูลงบประมาณเงินรายได้ แต่ยังขาดรายงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจของผู้บริหาร การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะโดยใช้ Microsoft Power BI ร่วมกับแนวคิดคุณภาพการให้บริการ (SERVQUAL) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจด้านงบประมาณเงินรายได้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย Power BI จะช่วยในการรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ขณะที่ SERVQUAL ช่วยให้การพัฒนาระบบตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ ระบบใหม่นี้ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสามารถประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ในหลายมิติ ผ่านการแสดงผลในรูปแบบตารางและกราฟที่สามารถโต้ตอบและเจาะลึกข้อมูลได้ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้บริหาร 10 คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 20 คน มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ 4.27 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบธุรกิจอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย</p> กฤตกร อินแพง Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4644 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่องร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4356 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ และ (2) หาประสิทธิภาพของระบบจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ ข้อมูลที่ใช้ในการทดลอง คือ ข้อมูลสัตว์เลี้ยง และข้อมูลรับเลี้ยงสัตว์ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือในการทดลอง คือ เว็บแอปพลิเคชันจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ที่พัฒนาด้วย PHP, HTML, CSS, Bootstrap 3, Bootstrap 4 เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL พัฒนาร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่องตามแนวคิดเครือข่ายประสาทเทียม โดยมีความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่ 93.50% และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชัน วิธีการดำเนินการวิจัยตามแนวคิด SDLC และมีการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยพบว่า (1) เว็บแอปพลิเคชันจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสมาชิกสามารถโพสต์หาบ้านให้แก่สัตว์เลี้ยง ระบุตำแหน่งปัจจุบันของสัตว์เลี้ยงที่กำลังหาผู้รับเลี้ยง และใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงโดยใช้รูปภาพได้ และ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันจำแนกประเภทสัตว์เลี้ยงด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ร่วมกับระบบหาผู้รับเลี้ยงให้สัตว์เลี้ยงบนแผนที่ภูมิศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 และค่าความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 0.18</p> อาทิตยา พันธ์นิล, ไพศาล สิมาเลาเต่า, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา Copyright (c) 2025 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/4356 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700