https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/issue/feed วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี 2024-08-29T13:28:33+07:00 Assistant Professor Sirilak Ketchaya, Ph.D. jait@ssru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี</strong></p> <p><strong>ISSN : 2730-2199 <br />E-ISSN : 2821-9414</strong></p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร<br /></strong> กำหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ขอบเขตบทความ</strong><br /> ด้านสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยี และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง</p> https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3144 การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2023-10-05T09:31:01+07:00 อรวรา ใสคำ ornwara_sai@cmru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ (3) ประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยและพัฒนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 คน ใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีปัญหาในการใช้งานระบบเดิม ค่าเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับมาก โดยพบปัญหาไม่มีคู่มือการใช้งานระบบ ไม่สามารถตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบ และไม่สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ จึงมีความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้สามารถตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมได้ สามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลของตนเองได้ มีวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้ Username และ Password เดียวกันกับการใช้ Wi-Fi ของมหาวิทยาลัย สามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของกิจกรรม และมีการแจ้งเตือนวันและเวลาของการลงทะเบียนกิจกรรมผ่านทางอีเมล พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามขั้นตอนวงจรการพัฒนาระบบ และเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชัน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.22</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3299 พฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพเว็บไซต์ด้านกิจการนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล 2023-11-14T10:51:53+07:00 ธารีย์ณิชา ลีพีรวิทิต tareenichar.lee@mahidol.ac.th ปเนต กุลฉันท์วิทย์ panet.kul@mahidol.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์ (2) รวบรวมข้อมูลและแสดงผลความต้องการของผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานและตัวชี้วัดจากเว็บโอเมตริกซ์ โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ข้อมูลผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์จากเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ Google Analytics เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชม สถิติเกี่ยวกับช่องทางการเข้ามาถึงเว็บไซต์และสถิติพฤติกรรมการเข้าชมเนื้อหาต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ (2) ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์เก็บข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าใช้เว็บไซต์ฯ จำนวน 432 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าใช้เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ช่วงอายุ 18–24 ปี เป็นนักศึกษา มีการเข้าใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์หลักที่เข้าใช้งานคือ เพื่อติดตามข่าวสาร ประชาสัมพันธ์และประกาศต่าง ๆ โดยระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.37 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3296 การเข้าถึงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก 2023-11-13T16:59:48+07:00 วิมลวรรณ วงค์ศิริ Wimonwan.won@pcru.ac.th ชลลดา ม่วงธนัง chonlada.mua@pcru.ac.th <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับของการเข้าถึงเนื้อหาจากการใช้และไม่ใช้การโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (2) เพื่อศึกษาการเข้าถึงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงเนื้อหากับการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจในการเลือกใช้รูปแบบของการกระตุ้นระดับการเข้าถึงเนื้อหาที่มีความคาดหวังให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของการเข้าถึงเนื้อหาจากวิธีการกระตุ้นด้วยการให้ของขวัญมีระดับการเข้าถึงของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กมากที่สุด ซึ่งสามารถมีการเข้าถึงเนื้อหาได้เป็นจำนวน 4,569 ครั้งต่อวัน (2) ปริมาณของการเข้าถึงเนื้อหาไม่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และ (3) การเข้าถึงเนื้อหาด้วยวิธีของการแสดงความรู้สึกผ่านการกดสัญลักษณ์ (Reactions) มีความสัมพันธ์กันกับการแบ่งปันข้อมูล (Shares) บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก มีค่า t-Test เท่ากับ 1.988 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่า P-Value เท่ากับ 0.185 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Non-Significant) ที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า การสร้างเนื้อหาสำหรับแพลตฟอร์มขึ้นมานั้น ไม่ว่าเนื้อหาจะมีรูปแบบหรือลักษณะใด ก็อาจไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณของการเข้าถึง แต่สิ่งที่ส่งผลต่อการเข้าถึงคือ รูปแบบของกิจกรรมที่มีให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วม จึงจะส่งผลต่อปริมาณการเข้าถึงได้มากขึ้น</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3392 การเตรียมข้อมูลสำหรับการทำเหมืองข้อมูลและเหมืองกระบวนการ โดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดแรงกดบนเก้าอี้การยศาสตร์ 2023-11-22T08:41:16+07:00 วริศร์ รัตนนิมิตร warisr@siamtechno.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการทำเหมืองข้อมูลและเหมืองกระบวนการ โดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดแรงกดบนเก้าอี้การยศาสตร์ เนื่องจากในปัจจุบันมีการนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งผลต่อกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่าระบบติดตามเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น พัฒนาขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์วัดแรงกด โดยระบบจะวิเคราะห์ท่าทางของผู้ใช้ และใช้วิธีการสร้างแผนภาพในลักษณะเหมืองกระบวนการ ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆของเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นกระบวนการจนจบกระบวนการ ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้ประกอบด้วย (1) ศึกษาวิธีใช้งานเซ็นเซอร์วัดแรงกดและบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (2) ศึกษาการเก็บข้อมูลและทำการเตรียมข้อมูลเพื่อทำเหมืองข้อมูล และเหมืองกระบวนการ และ (3) ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการโดยใช้วิธีการเหมืองข้อมูล และเหมืองกระบวนการ โดยนำข้อมูลดังกล่าวนำมาเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับโปรแกรม Google Looker ในการทำเหมืองข้อมูล และโปรแกรม Celonis ในการทำเหมืองกระบวนการ ผลวิจัยพบว่า การเตรียมข้อมูลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมที่ได้จากเซ็นเซอร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการทำเหมืองกระบวนการจะมีมากเพิ่มขึ้นทุกวัน สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ และแนวการแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์มาก เพื่อให้สามารถนำมาสนับสนุนการตัดสินใจ โดยในอนาคตจะได้มีการขยายงานวิจัยออกไปให้สามารถครอบคลุมการนำข้อมูลจากเซ็นเซอร์หลายตัวหรือผู้ใช้หลายคนต่อไป</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3523 การพัฒนากล่องจ่ายยาอัตโนมัติ 2024-03-18T09:38:08+07:00 ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ thitiporn.c@ubru.ac.th อชินี พลสวัสดิ์ achinee.p@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ออกแบบและพัฒนากล่องจ่ายยาอัตโนมัติ (2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ และ (3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ การทำงานประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กล่องสำหรับใส่ยาที่สามารถแจ้งเตือนด้วยสัญญาณเสียงพร้อมแสดงสถานะเตือนด้วยหลอดแอลอีดี แสดงเตือนบนหน้าจอ และส่งข้อความแจ้งเตือนบนสมาร์ตโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การทดสอบประสิทธิภาพของกล่องจ่ายอัตโนมัติ พบว่า การส่งเสียงแจ้งเตือนพร้อมแสดงสถานะเตือนผ่านหลอดแอลอีดี มีค่าความถูกต้องร้อยละ 97.61 ค่าความแม่นยำร้อยละ 100 และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 95.23 การแสดงผลบนหน้าจอแอลซีดีมีค่าความถูกต้อง ความแม่นยำ และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 97.61 การแจ้งเตือนบนสมาร์ตโฟนมีค่าความถูกต้องร้อยละ 95.23 ค่าความแม่นยำร้อยละ 97.50 และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 92.85 ความพึงพอใจจากผู้ใช้งานจำนวน 10 ราย อายุระหว่าง 62-78 ปี พบว่า มีความพึงพอใจต่อการใช้งานกล่องจ่ายยาอัตโนมัติในภาพรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก โดยด้านระบบเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านรูปแบบของกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ มีค่าเฉลี่ย 4.20 อยู่ในระดับมาก</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jait_ssru/article/view/3756 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2024-03-19T14:53:59+07:00 วงศวัฒน์ เทพาศักดิ์ wongsawat.t@msu.ac.th สมหมาย ขันทอง sommai.k@msu.ac.th <p>การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลมีความสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัย แต่การดำเนินการนั้นยังคงเป็นความท้าทาย มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแตกต่างกัน มีทั้งนำมาใช้อย่างเป็นระบบในทุกส่วนงานและนำมาใช้ในบางส่วนงาน งานวิจัยที่ผ่านมาได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใช้ในองค์กรประเภทต่าง ๆ แต่ในองค์กรด้านการศึกษายังมีอยู่จำกัด โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวน 63 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยคือ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ความสอดคล้อง ประโยชน์ การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง การสนับสนุนของผู้จำหน่ายเทคโนโลยี การสนับสนุนจากภาครัฐ และความกดดันจากการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในมหาวิทยาลัย ส่วนความซับซ้อนของเทคโนโลยีและต้นทุนเป็นอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เพื่อทำความเข้าใจว่าปัจจัยใดมีแนวโน้มที่จะเอื้ออำนวยต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน และตัดสินใจในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล</p> 2024-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี