วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp <p> วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอันนำไปสู่การส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการเผยแพร่และบริการวิชาการแก่สังคมที่ยั่งยืน รับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการในสาขาคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรม ประกอบด้วย สาขาอาหารและโภชนาการ อุตสาหกรรมการบริการอาหาร เสื้อผ้าและสิ่งทอ ศิลปะประดิษฐ์ การจัดการบ้านเรือนและชุมชน พัฒนาการเด็กและครอบครัว ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และสาขาที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร: </strong>ISSN: 3027-6071 (Online)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong><strong>: </strong>บทความทุกบทความที่ผ่านการพิจารณาคุณภาพเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ จะได้รับการพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาหรือที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่มาจากหลากหลายสถาบัน (peer review) จำนวน 3 ท่าน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์ โดยใช้รูปแบบที่ผู้ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-Blind Peer Review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><strong>: </strong>บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong>: </strong>ภาษาไทย </p> <p><strong>กำหนดออก</strong><strong>: </strong>ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์: </strong>วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนยังไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong><strong>: </strong>คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร</p> <p> </p> <p> </p> th-TH [email protected] (Asst.Prof. Dr.Nanoln Dangsungwal) [email protected] (Asst.Prof. Sansanee Thimthong) Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2015 <p>การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทย 2) เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t–test, F–test และหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาด้วยสถิติไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีทัศนคติต่อการบริโภคขนมไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 90.0 และมีพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยประเภทกวน ร้อยละ 67.5 บริโภคขนมไทยในช่วงเวลาเย็น ร้อยละ 67.2 ซื้อขนมไทยจากตลาด ร้อยละ 97.7 รับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายจากเฟสบุ๊ค ร้อยละ 64.5 ซื้อขนมไทยเพื่อรับประทานเอง ร้อยละ 94.2 และเลือกซื้อขนมไทยที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ร้อยละ 96.5 ผลการเปรียบเทียบทัศนคติโดยรวมกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และทัศนคติการบริโภคขนมไทยโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา</p> พรชัย พุทธรักษ์, ปานรวี คีรีรักษ์, ชลิดา ราวสกุล, อลิษา ไชยรัตน์, กษิเดช ฉันทกุล Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2015 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2149 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อชิ้นงาน กระบวนการประดิษฐ์ดอกไม้มีผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน คัดเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมในการประดิษฐ์ชิ้นงาน จากกำหนดรูปแบบดอกไม้ประดิษฐ์ 3 รูปแบบ คือ ดอกกล้วยไม้แวนด้า ดอกบัวหลวง และดอกกุหลาบ ด้วยวิธีการพิมพ์ซิลค์สกรีน 4 เทคนิค คือ การพิมพ์โดยตรง การพิมพ์ดิสชาร์จ (พิมพ์ทับ) การพิมพ์รีซิส และการพิมพ์เบิร์นเอ๊าท์ และเลือกใช้สีหมึกพิมพ์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ผ้าธรรมดา (สีจม) หมึกพิมพ์ผ้าสีลอย หมึกพิมพ์สียาง และหมึกพิมพ์สีนูน จากนั้นนำชิ้นงานสำเร็จไปสำรวจความพึงพอใจของบุคคลทั่วไป 100 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ เลือกรูปแบบของดอกกล้วยไม้สายพันธุ์แวนด้า เนื่องจากเพราะมีลวดลายของกลีบดอกชัดเจน การพิมพ์ทับมีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน ใช้สีหมึกพิมพ์ผ้าธรรมดา (สีจม) เพราะมีความทนต่อความร้อนในขั้นตอนการรีดกลีบดอกไม้ มีความชัดเจนของลวดลาย และควรใช้พู่กันลงสีร่วมกับการซิลค์สกรีนชิ้นงาน ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่าชิ้นงานได้รับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการออกแบบด้วยวัสดุที่นำมาใช้มีความแปลกใหม่ (x̅=4.86) ด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมนำไปใช้ประโยชน์เป็นของที่ระลึกและของตกแต่งบ้าน (x̅=4.82) ด้านวัสดุที่นำมาใช้มีความเหมาะสม (x̅=4.80) และด้านสถานที่จัดจำหน่ายในงาน จัดแสดงสินค้า (x̅=4.47) ดังนั้นการศึกษาดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบผ้าทอใยสับปะรดและเทคโนโลยีการลงสีดอกไม้ประดิษฐ์</p> กิตติ ยอดอ่อน, สุชีรา ผ่องใส, ชลธิชา อัคราช, สุรเมธ เพชรเปล่งสี Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2149 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 การออกแบบแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2882 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบ การตัดเย็บ และความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ โดยวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายเข็นมือ ได้แก่ คราม กระถินเทศ คำแสด และมะเกลือ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีและบุรุษที่ทำงานในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 170 คน แบ่งเป็นสตรี 85 คน และบุรุษ 85 คน ที่ถูกคัดเลือกโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบชุด และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ ได้แรงบันดาลใจมาจากความหลงใหลและรักในเส้นใยธรรมชาติ จากนั้นนำผ้าทอมาออกแบบชุดทำงานสตรีและบุรุษ คัดเลือกชุดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่น 5 ท่าน คัดเลือกให้เหลือชุดทำงานสตรี 5 ชุดและบุรุษ 5 ชุด ผู้วิจัยนำชุดที่ผ่านการคัดเลือกไปสร้างต้นแบบ และนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบและตัดเย็บ ผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (x̅=3.85) กลุ่มตัวอย่างทั้งสตรีและบุรุษมีความพึงพอใจเหมือนกันเป็นอันดับแรกคือ ด้านการออกแบบ</p> สุภาพ ศรีวงษา, จุฬาลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ภูมิมินทร์ โพธิ์คีรี, อรปรียา ฤทธิโชติ Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2882 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2178 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หนังสือที่เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2566 สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไปที่เข้าชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 77 คน ข้อมูลถูกวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipHTML5 มีการออกแบบโครงสร้างเนื้อหาแบบไม่เป็นเส้นตรง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.71) อาชีพนักศึกษา (ร้อยละ 50.65) อายุ 18-22 ปี (ร้อยละ 54.55) ใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 52.82) และเคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 74.03) มีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านเนื้อหา (x̅=4.33) ด้านคุณภาพ (x̅=4.39) และด้านภาพรวม (x̅ =4.49) ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย คือ เนื้อหามีความหลากหลายให้เลือกเรียนรู้ เนื้อหาควรแบ่งเป็นหัวข้อย่อย และเพิ่มภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้น่าสนใจ นอกจากนี้ควรส่งเสริมความรู้ดิจิทัลผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะเรื่องในรูปแบบแบบสื่อประสม เพื่อเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้สนใจนำไปประกอบอาชีพ</p> อัชชา หัทยานานนท์, กฤตพร ชูเส้ง, เกศทิพย์ กรี่เงิน, สุวดี ประดับ, มัลลิกา จงจิตต์, ไตรถิกา พิชิตเดช, ณัฐชยา เปียแก้ว, เกชา ลาวงษา Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2178 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของการใช้ผักน้ำและผักไชยาต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผักแผ่นอบกรอบ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2228 <p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักแผ่นอบกรอบจากผักน้ำและผักไชยา โดยศึกษาสูตรพื้นฐานที่แตกต่างกัน พบว่าสูตรพื้นฐานสูตรที่ 3 ที่มีแป้งกวนสุกในส่วนผสมได้รับคะแนนประเมินทางประสาทสัมผัสสูงสุด การศึกษาปริมาณผักไชยาและผักน้ำที่เหมาะสมในการผลิตผักแผ่นอบกรอบ จำนวน 4 สูตร พบว่า คะแนนประเมินทางประสาทสัมผัสไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) โดยสามารถเลือกสูตรใดก็ได้มาทำการศึกษา ผู้วิจัยจึงเลือก สูตร C ประกอบด้วย ผักไชยา ร้อยละ 40 ผักน้ำ ร้อยละ 40 แคร์รอต ร้อยละ 10 และข้าวโพด ร้อยละ 10 เนื่องจากแคร์รอตและข้าวโพดมีทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติหวานแก่ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งอัตราส่วนของผักน้ำและผักไชยาของสูตร C มีปริมาณที่น้อยกว่าสูตรอื่นทำให้กลิ่นผักของผลิตภัณฑ์ลดลงและง่ายต่อการรับประทาน สำหรับคุณภาพทางกายภาพ พบว่าค่าสี L*, a* และ b* ทั้ง 4 สูตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ค่าความแข็งของสูตร C มีค่ามากที่สุด คุณภาพทางเคมีพบว่าค่ากิจกรรมของน้ำต่ำกว่า 0.6 สำหรับการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภค 100 คน ให้การยอมรับทางประสาทสัมผัสต่อสูตร C ที่อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ได้แก่ ความกรอบ สี ลักษณะปรากฏ ความชอบโดยรวมในขณะที่ด้านรสชาติและกลิ่นมีระดับความชอบเล็กน้อย อีกทั้งผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (61%) ตัดสินใจจะซื้อเมื่อผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย</p> กฤติน ชุมแก้ว, อัญชลี จันทาโภ, ไชยสิทธิ์ พันธุ์ฟูจินดา Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2228 Sat, 23 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของการทดแทนน้ำเชื่อมหญ้าหวานต่อคุณภาพเคมีกายภาพในผลิตภัณฑ์มาร์ชแมลโลว์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3123 <p>มาร์ชแมลโลว์เป็นขนมหวานที่มีปริมาณน้ำตาลสูง จึงไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคน้ำตาล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้น้ำเชื่อมหญ้าหวานทดแทนน้ำเชื่อมในผลิตภัณฑ์มาร์ชแมลโลว์ โดยคัดเลือกสูตรพื้นฐานที่เหมาะสมในการผลิตมาร์ชแมลโลว์ จำนวน 3 สูตร พบว่า สูตรที่ 2 มีค่าความสว่างสูงที่สุด (82.16) และมีค่าความยืดหยุ่นสูง (11.35 มิลลิเมตร) โดยมาร์ชแมลโลว์สูตรพื้นฐานที่ได้มีส่วนประกอบ ได้แก่ เจลาติน น้ำเชื่อม กลิ่นวนิลา และแป้งข้าวโพด จากนั้นมาทำการทดแทนสารสกัดหญ้าหวานอัตราส่วนน้ำตาลต่อสารสกัดหญ้าหวาน 4 ระดับคือ 100:0, 98:2, 96:4 และ 94:6 พบว่า การทดแทนสารสกัดหญ้าหวานที่อัตราส่วน 96:4 มีค่าความสว่าง เท่ากับ 86.89 และมีค่า aw เท่ากับ 0.76 มีความยืดหยุ่น เท่ากับ 10.81 มิลลิเมตร มีค่าความแข็งต่ำที่สุดเท่ากับ 4.24 นิวตัน (p≤0.05) ดังนั้นการใช้สารสกัดหญ้าหวานทดแทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์มาร์ชแมลโลว์จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้บริโภคและเป็นแนวทางการลดพลังงานให้กับผลิตภัณฑ์มาร์ชแมลโลว์ได้</p> นิตยา ภูงาม, กมลชนก มานุจำ, ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์ Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3123 Sat, 23 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3262 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากรที่ใช้ คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 130 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาโท และปฏิบัติหน้าที่สายวิชาการ มีระดับความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับการรับรู้มาก (x̅=4.33 และ 4.27 ตามลำดับ) มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (x̅=3.30) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำแนกตามสายงาน พบว่าการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุนไม่มีความแตกต่างด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านทัศนคติ (p&gt;0.05) แต่ด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกัน (p≤0.05) ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์กับประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน (p&gt;0.05)</p> มะยม นิสัยตรง, ญาฌิฐา ตรีสงฆ์ Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3262 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลิตภัณฑ์งานใบตอง : การสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตอง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2324 <p>บทความนี้ได้วิเคราะห์แนวทางการออกแบบและการสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตอง พบว่า การออกแบบถาดใบตองเป็น การสร้างสรรค์รูปแบบใหม่หรือดัดแปลงขึ้นใหม่ให้ดีขึ้น โดยใช้องค์ประกอบของการออกแบบ ประกอบด้วย รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบศิลป์ และทฤษฎีการออกแบบประกอบด้วย เอกภาพ ความสมดุล ความสัมพันธ์ทางศิลปะ การสร้างสรรค์ถาดใบตอง เป็นการสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตองใหม่ ๆ โดยใช้องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ ใช้งานได้ และมีความเหมาะสม การคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทางคือ เริ่มจากจินตนาการแล้วกลับสู่สภาพความเป็นจริง และเริ่มจากความรู้แล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ ส่วนขั้นตอนการคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย กำหนดเป้าหมายการคิด การแสวงหาแนวคิดใหม่ การประเมิน และคัดเลือกแนวคิด นอกจากนั้นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความสามารถทางสติปัญญา ความรู้ การคิด แรงจูงใจ สภาพแวดล้อม</p> ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, ขจร อิศราสุชีพ, ธนกฤต จิรโชติเศวต Copyright (c) 2023 วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2324 Fri, 01 Dec 2023 00:00:00 +0700