วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP <table style="height: 1161px;" width="812"> <tbody> <tr> <td width="772"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> วารสารสันติสุขปริทรรศน์ Journal of Peace Periscope (JPP) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเชิงวิชาการ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยให้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่สาธารณชนและแวดวงวิชาการ ขอบเขตวารสารมุ่งเน้นเปิดรับบทความจากสาขาด้านศาสนาและปรัชญา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษย์และสังคมศาสตร์ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</td> </tr> <tr> <td width="772"> </td> </tr> <tr> <td width="772"><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร </strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> <strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) </strong>บทความวิจัยมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นการนำเสนอปัญหาที่ผู้เขียนได้ศึกษาหรือประเด็นที่ต้องการคำตอบ มีการกำหนดกรอบแนวคิด การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสรุปปัญหาอย่างชัดเจน อันเป็นการสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าทางวิชาการ</td> </tr> <tr> <td width="772"> <strong> 2) บทความวิชาการ (Academic Article)</strong> เป็นบทความที่นำเสนอเชิงการวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอความรู้ทางวิชาการที่เกิดองค์ความรู้ใหม่</td> </tr> <tr> <td width="772"> <strong> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article)</strong> เป็นบทความในลักษณะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์เปรียบเทียบ ที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ หรือจากผลงานประพันธ์และประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้นในมุมมองทางวิชาการ</td> </tr> <tr> <td width="772"> <strong>4) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book Review) </strong>เป็นบทความในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณค่าเนื้อหาสาระจากหนังสือ โดยการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือประกอบด้วยรายละเอียดชื่อผู้เขียน จำนวนหน้า ปีที่พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสถานที่พิมพ์ให้ชัดเจน</td> </tr> <tr> <td width="772"> </td> </tr> <tr> <td width="772"><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> วารสารเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม </td> </tr> <tr> <td width="772"> เผยแพร่ที่ :<a href="https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP" target="_blank" rel="noopener"> https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP</a></td> </tr> <tr> <td width="772"> </td> </tr> <tr> <td width="772"><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> บทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </td> </tr> <tr> <td width="772"> </td> </tr> <tr> <td width="772"><strong>การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> วารสารสันติสุขปริทรรศน์ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์<strong>บทความละ 3,500 บาท</strong> (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ชำระเมื่อผู้เขียนได้รับแจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารฯ แล้ว ให้ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน และให้ส่งหลักฐานการชำระมาที่ E-mail วารสารเท่านั้น หลังจากนั้นกองบรรณาธิการจึงจะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความต่อไป ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้</td> </tr> <tr> <td width="772"> 1. บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 25% จากการตรวจสอบของ CopyCatch จากระบบ Thaijo</td> </tr> <tr> <td width="772"> 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร</td> </tr> <tr> <td width="772"> 3. ผู้เขียนบทความต้องการถอดถอนหรือยกเลิกการตีพิมพ์</td> </tr> <tr> <td width="772"> 4. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ ตามระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้ปรับแก้ไข (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) </td> </tr> <tr> <td width="772"> ** โดยชำระเงินที่ <strong>ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาดอยสะเก็ด</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> หมายเลขบัญชี:<strong> 020224914281</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> ชื่อบัญชี: <strong>วารสารสันติสุขปริทรรศน์</strong></td> </tr> <tr> <td width="772"> เมื่อชำระแล้วให้ส่งสลิปการโอนเงินและแจ้งชื่อ-สกุล มาที่ E-mail:<strong> jppsantisuk.journal@gmail.com</strong></td> </tr> </tbody> </table> th-TH jppsantisuk.journal@gmail.com (พระครูชลธารพิทักษ์) jppsantisuk.journal@gmail.com (นางสาวศิรินทิพย์ ผาเจริญ) Wed, 24 Apr 2024 09:48:47 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบนฐานแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3663 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบนฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการธำรงอัตลักษณ์โดดเด่นในเรื่องของความเชื่อ วิถีชีวิต พิธีกรรม ประเพณี โดยได้ปรับเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมชาวไทยพุทธในท้องถิ่นภาคใต้ ดังจะเห็นใน 3 ประเด็นต่อไปนี้ 1. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิตซึ่งจำแนกเป็นด้านการแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับประเพณีสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อบรรพบุรุษ ด้านอาหารที่นิยมนำอาหารเวียดนามไปทำบุญถวายพระ 2. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านความเชื่อในพิธีกรรม จำแนกเป็นด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาหิ้งพระและบูชาบรรพบุรุษที่ผสมผสานระหว่างพิธีกรรมดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนาที่นิยมทำหิ้งพระเพื่อสักการะบูชาควบคู่กับการบูชาบรรพบุรุษของตน และด้านพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายที่นิยมปฏิบัติตามธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา 3. พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ด้านประเพณี จำแนกเป็นด้านประเพณีการบวชที่นิยมบวชตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ด้านประเพณีแต่งงานที่บิดามารดาส่งเสริมให้ประพฤติในหลักพระพุทธศาสนาในเรื่องหลักสมชีวิธรรม 4 ประการ ด้านประเพณีสงกรานต์ที่ปฏิบัติตามงานสงกรานต์ของชาวไทยพุทธท้องถิ่นภาคใต้ และด้านประเพณีวันสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ที่ปรับวิถีการทำบุญเพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว</p> อริสา สายศรีโกศล, กฤตสุชิน พลเสน Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3663 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3130 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขีดความสามารถการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีดำเนินการวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสมผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 340 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ข้าราชการท้องถิ่นและแกนนำท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ขีดความสามารถการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการบริหารจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) แนวทางพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การจัดการวัสดุอุปกรณ์ (Materials) 2) เทคนิคในการปฏิบัติงาน (Technic) 3) ตอบสนองความต้องการของประชาชน (Satisfaction) 4) ผู้บริหารและบุคลากรที่ดี (Good Management and personnel) 5) การบริหารและจัดสรรงบประมาณ (Budget) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบ MTSGB Model</p> อทิตยา สังข์มี, ไชยวัฒน์ เผือกคง, อมร หวังอัครางกูร Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3130 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3220 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไป พบว่า ด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ไปเลือกตั้งจากความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ด้านการสื่อสารทางการเมือง มีการประชาสัมพันธ์และมีทัศนคติที่ดีต่อการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง มีการแสดงความคิดเห็นในการกำหนดนโยบาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ด้านความเข้าใจทางการเมือง ได้รับการพัฒนาเรียนรู้ทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านทัศนคติทางการเมือง เกิดจากการความเชื่อจากคนใกล้ชิด การเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ด้านพฤติกรรมทางการเมือง มีการศึกษาเรียนรู้หลักการและแนวทางทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป โดยใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 พบว่า รักษาการประชุมและเลิกประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ปฏิบัติตามมติของพรรค เคารพนับถือผู้ใหญ่ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถือปฏิบัติตามระเบียบ</p> ณัฎฐกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3220 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3358 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อมีการพิจารณาในรายละเอียด พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ และด้านทักษะความร่วมมือ ส่วนด้านทักษะการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อมีการพิจารณาในรายละเอียด พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ รองลงมา ได้แก่ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .777</p> อุไรรัตน์ หาญธงไชย, กฤษฎิ์ กิตติฐานัส Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3358 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3781 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการ และเครือข่ายอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านและชุมชน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการสร้างผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=3.94, S.D.= 0.901) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการบริหารผังรายการสำหรับผู้สูงอายุของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 3) ปัญหาและอุปสรรคคือนักจัดรายการในฐานะผู้ส่งสารขาดเทคนิคการนำเสนอ ดังนั้นแนวทางผู้จัดรายการต้องเตรียมความพร้อม เตรียมข้อมูลในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นผลประโยชน์กับผู้รับฟัง ซึ่งผู้สูงอายุมีควาสนใจด้านธรรมะ สุขภาพ กฎหมายเป็นหลัก</p> กนกรัตน์ ปัญญา, ประเสริฐ ปอนถิ่น, นพดณ ปัญญาวีรทัต Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3781 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3426 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) คุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 315 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก 2) ระดับคุณภาพชีวิตครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำแบบบริการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r=0.51, Sig=0.00) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการให้บริการ (r=0.57, Sig=0.00) รองลงมาได้แก่ด้านการเป็นผู้ฟังที่ดี (r=0.56, Sig=0.00) ส่วนด้านการมองการณ์ไกล มีความสัมพันธ์ต่ำที่สุด (r=0.44, Sig=0.00)</p> รังสิยา แสนทวีสุข, สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3426 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 ระบบการบริหารจัดการสภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3413 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรค ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ และพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำเชิงบูรณาการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และประธานสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤติโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน 4) กลยุทธ์เชิงรับ</p> ธีรพล นิติจอมเล็ก, รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์, วีณา นิลวงศ์, ภาวิณี อารีศรีสม, พิณนภา หมวกยอด Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3413 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3780 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบผู้รับบริการต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่มาบริการงานสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบการทดสอบตามสมมติฐาน พบว่า ผู้รับบริการที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนผู้รับบริการ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ งานที่มารับบริการ ได้ยอมรับสมมติฐาน 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการของเจ้าหน้าที่ควรจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใช้ในการบริการเพื่อลดขั้นตอนและให้เกิดความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ การให้ความเชื่อมั่น การตอบสนองต่อผู้รับบริการ และการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ฉะนั้นการให้บริการโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ผูกใจคนและประสานหมู่ชนให้เกิดความสามัคคี เป็นหลักธรรมที่ทำให้คนเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนทั่วไป ผลที่ตามมาคือ ประชาชนได้รับการบริการที่ประทับใจ มีประสิทธิภาพในการบริการมากยิ่งขึ้น ให้สมคำที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน”</p> อุเทน เขียวยะ, ประเสริฐ ปอนถิ่น, นพดณ ปัญญาวีรทัต Copyright (c) 2024 วารสารสันติสุขปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/3780 Wed, 24 Apr 2024 00:00:00 +0700