วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU <p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย/วิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู โดยครอบคลุมสาขา<em>วิ</em>ชาหลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา จิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา สถิติและวิจัยทางการศึกษา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ทั้งนี้มีการตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในแบบออนไลน์เท่านั้น ใช้การประเมินแบบ double-blind review โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และผลงานที่จะนำมาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นใดมาก่อน ซึ่งผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบประเด็นดังกล่าว</p> th-TH [email protected] (รศ.ดร.วราพร เอราวรรณ์) [email protected] (ผศ.ดร.ธนดล ภูสีฤทธิ์) Tue, 19 Mar 2024 12:43:02 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3118 <p>บทความวิจัยนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ใน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสตรีศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีผลต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 80.02/89.14 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) = 4.78, S.D. = 0.38)</p> วรวัชร วรรณสุทธิ์, มนตรี วงษ์สะพาน Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3118 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวคิดกาเย่ ในรายวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3146 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยคริสเตียนสะพานเหลือง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์โดยใช้แนวคิดกาเย่ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ 3) แบบสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนโดยใช้สูตร E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> และการทดสอบสมมติฐาน The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดกาเย่ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81/80 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ โดยใช้แนวคิดกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> =4.51, S.D.=0.50)</p> ปภัสรา วรรณวงษ์, สุรีรัตน์ จีนพงษ์, นพดล อินทร์จันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3146 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของนักศึกษา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3149 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน จำนวน 1 แผน มีค่าความเหมาะสม 4.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.86-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24-0.82 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.42-0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.85 แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.82-1.00 อำนาจการจำแนกระหว่าง 0.28-0.84 และมีความเชื่อมั่น 0.95 แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.78-1.00 และความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> พุทธชาติ ทองโคตร Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3149 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3250 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 2/2565 โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 9 แผน จำนวน 14 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบอัตนัย 10 ข้อ ก่อนเรียน 5 ข้อ หลังเรียน 5 สถานการณ์ใกล้เคียงกัน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย 30 ข้อ 4) แบบวัดความ พึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test dependent และ one samples t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.20 จาก 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81</p> วรรณภา แสนจำลา, ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3250 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ระคน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3237 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถการ แก้โจทย์ปัญหา แบบอัตนัย 10 ข้อที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.55-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.80 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 20 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.45-0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.80 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ มีผลการวิจัย คือ 1) ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีคะแนนเฉลี่ย 39.69 คิดเป็นร้อยละ 79.21 นักเรียนผ่านเกณฑ์ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีคะแนนเฉลี่ย 14.54 คิดเป็นร้อยละ 72.69 แลนักเรียนผ่านเกณฑ์ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 ของนักเรียนทั้งหมด</p> ภานุภณ วงษ์จูม, สมทรง สิทธิ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3237 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3290 <p>This research aimed to study and create predictive equations for factors affecting the decision to enter a bachelor's degree in the Faculty of Education (5-year program), Buriram Rajabhat University in academic year of 2023. The sample used in this research was 225 first-year students in the Faculty of Education, obtained by group randomization. The predictors consisted of family expectations, the reception of society and career, physical characteristics, reputation and values, curriculum, guidance, and motivation for achievement; whereas the criteria variable was the decision to enter the Faculty of Education bachelor's degree (5-year program) at Buriram Rajabhat University. The data collection tool was a 5-level estimation scale questionnaire analyzing data by determining percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and multiple regression analysis. The results showed that predictive variables can be used to predict admission decisions to the Faculty of Education (5-year program), Buriram Rajabhat University Academic Year 2023 consisted of factors; guidance (X<sub>6</sub>), motivation for achievement (X<sub>7</sub>) and physical characteristics (X<sub>3</sub>). When entering the regression equation, the multiple correlation coefficient was 0.697 and the prediction coefficient of 48.60% (R<sup>2</sup> = 0.486) was statistically significant at the level of .01.</p> <p> Forecast equation in raw score</p> <p> Y′ = 0.683 + 0.341X<sub>6</sub> + 0.2181X<sub>7</sub> + 0.179X<sub>3</sub> </p> <p> Forecast equation as normalized score</p> <p> Z′<sub>Y</sub> = 0.473ZX<sub>6</sub> + 0.184ZX<sub>7</sub> + 0.171ZX<sub>3</sub> </p> สุชาติ หอมจันทร์, กระพัน ศรีงาน, พัชนี กุลฑานันท์, วนิดา หอมจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3290 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3214 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 จำนวน 40 คน โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 82.47/78.83 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.58, S.D.=0.74)</p> วรารัตน์ อรัญ , ธนดล ภูสีฤทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3214 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ในการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3286 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ในการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ (Synectics) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 2) พัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR)ฯ 3) เพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนจากการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้เว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความรู้และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ฯ 2) เว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ในการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ (Synectics) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ The Test for Creative Thinking Drawing Production (TCT-DP) ซึ่งสร้างขึ้นโดย เจลเลน และเออร์บาน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้เว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ฯ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้เว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ฯ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก ผลการศึกษาพบว่า 1) มีความต้องการที่สำคัญ คือ ด้านความสนใจในเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.48 และ S.D. = 0.78) และมีความต้องการใช้ชุดสื่อดิจิทัลในรูปแบบเว็บไซต์ (Website) ร้อยละ 99.5 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ร้อยละ 90.5 และสื่อโมชันกราฟิก (Motion Graphic) ร้อยละ 82.5 2) คุณภาพของสื่อชุดสื่อดิจิทัลในรูปแบบเว็บไซต์ (Website) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) และสื่อโมชันกราฟิก (Motion Graphic) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา และด้านสื่อ ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.85, S.D. = 0.22) 3) การประเมินวัดความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\overline{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{x}" /> = 4.74, S.D. =0.44) สรุปได้ว่า การพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับชุดสื่อดิจิทัลผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ในการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ (Synectics) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ได้จริงและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี</p> สุธิวัชร ศุภลักษณ์, สรัญญา เชื้อทอง, มัทวัน คงอินทร์, สุริวิภา ศรีวันนา, ศิรดา วัฒนศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3286 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3269 <p> </p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา และ2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน ที่เลือกแบบเจาะจง บทเรียน สะเต็มศึกษาได้รับการออกแบบโดยใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติร่วมกับคำถามปลายเปิด นักเรียนต้องใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาเพื่อให้งานสำเร็จ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเป็นกรอบในการตีความข้อมูลและแสดงแทนด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่านักเรียนเหล่านี้มีทักษะในการแก้ปัญหาก่อนเข้าเรียนในระดับต่ำ นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ขณะเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามสะเต็มศึกษานักเรียนส่วนใหญ่มีผลร้อยละ 93.75 แสดงว่าได้เพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา ได้แก่ ขั้นระบุปัญหาวิเคราะห์ ขั้นนิยามสาเหตุของปัญหา ขั้นการค้นหาคำตอบ และขั้นพิสูจน์คำตอบ ในระหว่างการใช้นักเรียนสามารถเริ่มต้นขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ การศึกษายังนำเสนอให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจปัญหาและพัฒนาแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาทักษะการแก้ปัญหาในแต่ละระดับ พบว่า วิเคราะห์เพื่อระบุปัญหา ร้อยละ 83.33 นิยามสาเหตุของปัญหา ร้อยละ 88.89 แสวงหาแนวทางแก้ไข ร้อยละ 77.78 และพิสูจน์คำตอบ ร้อยละ 86.11 คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> </p> ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ, พัชริตา บุญธรรม Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3269 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700