วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย/วิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู โดยครอบคลุมสาขา<em>วิ</em>ชาหลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา จิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา สถิติและวิจัยทางการศึกษา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ทั้งนี้มีการตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในแบบออนไลน์เท่านั้น ใช้การประเมินแบบ double-blind review โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และผลงานที่จะนำมาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นใดมาก่อน ซึ่งผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบประเด็นดังกล่าว</p>
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
th-TH
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3027-6268
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3822
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเสาธงชัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (SOLVE) ดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมาย (Set-Goal) 2) วางแผนการเรียนรู้ (Order) 3) ลงมือปฏิบัติ (Learning) 4) ประเมินตนเอง (Verify) 5) ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ (Effective Feedback) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.63<em>,</em> <em>SD</em> = 0.47) 2) หลังจากที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกครบทุกแผนแล้ว พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.69<em>,</em> <em>SD</em> = 0.46)</p>
ศุภกานต์ ศุขแจ้ง
สมถวิล ขันเขตต์
ปริญา ปริพุฒ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
1
18
-
การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านงานบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4082
<p>การวิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านงานบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการ<br />โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่มเครื่องมือเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จากกลุ่มตัวอย่าง 600 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายปิด พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ที่ได้พัฒนาขึ้นมี 3 ด้าน 34 ตัวบ่งชี้ โดยเรียงน้ำหนักองค์ประกอบ ด้านทักษะ 10 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณลักษณะ 11 ตัวบ่งชี้ ด้านความรู้ 13 ตัวบ่งชี้ มีค่า .98 .80 และ .78 ตามลำดับ 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 297.42 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 190 ค่าความน่าจะเป็นทางสถิติ เท่ากับ .08 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.56 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณเท่ากับ .03 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้อง เท่ากับ .97 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ .91 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ เท่ากับ .99 แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p>
จิราพรณ์ วงศ์ฮาดจันทร์
สุชาติ หอมจันทร์
กระพัน ศรีงาน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
19
38
-
แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดสำหรับครู ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4122
<p>ความเครียด เป็นภาวะการเสียความสมดุลทางจิตใจและร่างกาย ซึ่งวัยทำงานที่ประกอบวิชาชีพครูหรือบุคลากรทางการศึกษา จะพบว่ามีความเครียดจากการทำงานในระดับที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแอปพลิเคชันการจัดการความเครียดสำหรับครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยมีแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบแท้จริง วัดผลก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดที่พัฒนาจากแนวคิดการจัดการความเครียดของ กรีนเบิร์ก ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินระดับความเครียด ของกรมสุขภาพจิต (SPST - 20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดของครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄= 3.80 S.D. = 0.25) และครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ได้เข้าร่วมการใช้แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
พาทินธิดา ทมโยธา
กรวรรณ โหม่งพุฒ
ชนิตา พิมพ์ศรี
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
39
54
-
การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4159
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษา แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น และมีนักเรียนที่มีคะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษา และ 2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และมีนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เพิ่มขึ้น ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยบูรณาการสตีมศึกษา</p>
ศานตวัฒน์ นารีสา
วิทยา วรพันธุ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
55
69
-
การพัฒนาระบบการออกแบบและผลิตรายวิชา MOOCs สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4166
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1)สร้างระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs 2) ทดสอบระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs 3)ประเมินและรับรองระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs โดยมีขั้นตอนการวิจัย ระยะที่1การสร้างระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs แหล่งข้อมูลได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินร่างระบบ ระยะที่2 การทดสอบระบบ แหล่งข้อมูลได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 15คน เครื่องมือที่ใช้คือ ระบบการออกแบบและผลิตรายวิชา MOOCs, แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ ระยะที่ 3 การประเมินและรับรองระบบ แหล่งข้อมูลได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรับรองระบบ<br />ผลการวิจัยพบว่า 1.กำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีความต้องการระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96),(S.D.=.60) ระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs มีส่วนประกอบ 1)หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของระบบ 3) หลักการและทฤษฎีในการพัฒนาระบบ 4)บริบท 5) องค์ประกอบระบบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ 2.การทดสอบระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มผู้ใช้ระบบมีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.76),(S.D.=.59)และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.63),(S.D.=.58) 3.การประเมินและรับรองระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCsสำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนมากเห็นด้วยกับทั้งสี่ประเด็นหลัก โดยมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.35),(S.D.=.41)</p>
สุขมิตร กอมณี
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
70
93
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4176
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ 2)เพื่อศึกษาคะแนนและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ 2)แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ และ3)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ พบว่าได้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นได้แก่ 1)ตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้ 2)มีความคิดเป็นของตนเอง 3)อภิปรายกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม และ4)ทบทวนเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบ พบว่า 2.1)นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.27 จากคะแนนเฉลี่ยรวม 2.2)นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ โดยรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด</p>
กัญญาพัชร ชาตะเคน
วรรณภา โคตรพันธ์
ปริญา ปริพุฒ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
94
108
-
การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ในการประเมินหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4253
<p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ประยุกต์ใช้การจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง และจุดที่สามารถพัฒนาได้ของหลักสูตร มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 24 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการของการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ผลการวิจัยพบว่า หลักการที่ 1 การมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่ชัดเจน จุดแข็ง คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ พิจารณาแสดงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของคณะและมหาวิทยาลัย หลักการที่ 2 การขยายโอกาสและสนับสนุนความสำเร็จ จุดแข็ง คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชิงรุกทุกรายวิชา จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ พิจารณากำหนดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องการของผู้สำเร็จการศึกษา และมอบหมายรายวิชาที่เป็นหลักในการพัฒนาทักษะเหล่านั้น หลักการที่ 3 ความคาดหวังสูง จุดแข็ง คือ หลักสูตรมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น มีการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิจัย การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ จุดที่สามารถพัฒนาได้ พิจารณากำหนดเกณฑ์ และวิธีการประเมินการบรรลุ/ไม่บรรลุ PLOs หลักการที่ 4 การออกแบบการสอนย้อนกลับ จุดแข็ง คือ หลักสูตรมีการทำ Curriculum mapping ที่แสดงให้เห็นถึงการผลักดัน PLOs ของรายวิชาต่างๆ จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ แต่ละรายวิชาพิจารณาสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา (CLOs) และแจ้งไปยังผู้เรียน</p>
นิโลบล สุจินพรัหม
จิระพร ชะโน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
109
133
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves ที่มีต่อทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4295
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีผู้ร่วมสะท้อนผล 3 คน ผลการสะท้อนผลจากแต่ละวงจรปฏิบัติการ นำไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติการถัดไป 2) ศึกษาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประจำอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น 3 แผน 2) แบบวัดทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย 3 ชุด 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 4) แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้าโดยใช้แหล่งข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่ง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (ABL) ร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ มีประเด็นที่ควรเน้นและแนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ (1) การทบทวนความรู้เดิมและการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน (2) การใช้สถานการณ์ปัญหาที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัญหาเดิม (3) การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (4) การนำเสนอและการพูดคุยถึงผลลัพธ์ของกลุ่มตนเอง (5) การประเมินผลด้วยใบงานหรือแบบฝึกทักษะ 2) ผลการศึกษาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนทักษะการสื่อสารด้วยการพูดและการเขียนสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบแต่ละวงจรปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
อรณิชา พานทอง
อาทร นกแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
134
152
-
วิจัยเชิงปฏิบัติการหาแนวทางการส่งเสริมความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การหารทศนิยม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4311
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของนักเรียน เรื่อง การหารทศนิยม ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการแบบเปิด และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดลำดับของบทเรียนตามแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ดำเนินการวิจัยในโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกภาคสนาม แบบสะท้อนผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์โพรโทคอล และการสัมภาษณ์ โดยใช้กรอบแนวคิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของ Kilpatrick, Swafford and Findell และวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha ใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล และนำเสนอข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง คือ 1) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด ออกแบบสถานการณ์ปัญหาจากเรื่องราวในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่เชื่อมโยงกับการหารทศนิยม เน้นการกระทำกับสื่อจริงและสื่อเสริม ได้แก่ ภาพแทนสถานการณ์ แผนภาพแถบกระดาษ เส้นจำนวน และเส้นจำนวนเชิงสัดส่วน และให้นักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนร่วมกัน 2) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ ออกแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำเสนอวิธีการของตนเองและเปรียบเทียบกับเพื่อน และ3) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ออกแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้แก้ปัญหาและอภิปรายร่วมกันโดยเชื่อมโยงวิธีการที่ได้เรียนรู้มาก่อนแล้วไปสู่การแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาใหม่</p>
ชาญชัย ดวงมาลา
วีระศักดิ์ แก่นอ้วน
ปริญา ปริพุฒ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
153
170
-
การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4909
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีต่อชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 150 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.84-1.00 มีค่าอำนาจการจำแนกระหว่าง 0.28-0.82 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อชุดการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.75-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบ <em>t</em>-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีค่า 84.75/80.28 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชุดการสอน หลังเรียนมีค่า (𝑥̅ <strong>= </strong>41.44) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ <strong>= </strong>24.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการสอน พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ <strong>= </strong>4.02)</p>
พุทธชาติ ทองโคตร
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
171
190
-
การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบทางการศึกษา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3596
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยจากบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบทางการศึกษา และ 2) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บทความวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ที่พิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิจัย ERIC - Education Resources Information Center ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566 จำนวน 15 เรื่อง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย พบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ทำในภูมิภาคเอเชียมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 66.67 เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2565 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงทดลอง (Quasi-experimental) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาครู มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.33 สำหรับตัวแปรจัดกระทำที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Design thinking approach มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 และ 2) ผลการสังเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่นำไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 26.67</p>
ปรมะ แก้วพวง
ชวลิต ชูกำแพง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-30
2024-10-30
18 4
191
205