https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/issue/feed วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2025-04-01T14:55:27+07:00 รศ.ดร.วราพร เอราวรรณ์ (เริ่ม พ.ศ.2566-ปัจจุบัน) joedumsu@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รับตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย/วิทยานิพนธ์ และบทวิจารณ์หนังสือ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู โดยครอบคลุมสาขา<em>วิ</em>ชาหลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา จิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา สถิติและวิจัยทางการศึกษา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ทั้งนี้มีการตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในแบบออนไลน์เท่านั้น ใช้การประเมินแบบ double-blind review โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และผลงานที่จะนำมาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นใดมาก่อน ซึ่งผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบประเด็นดังกล่าว</p> https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4910 ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมและการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 ของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2024-11-16T09:39:33+07:00 จิรนันท์ วีรกุล jiranunw@nu.ac.th แพรว สุวรรณศรีสุข preawclinic6462@gmail.com เสาวนาถ สันติชาติ saowanats@nu.ac.th ธรารัตน์ รณหงษา thraratr@nu.ac.th ชยกมล นิยะสม chayakamon@hotmail.co.th <p>ผู้ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 3 ขั้นตอน และ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร กำหนดให้สอบผ่านการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน ในการสอบขั้นตอนที่ 1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ และการประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ของนิสิตแพทย์รหัสรับเข้าปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวนทั้งหมด 500 ราย โดยจะทำการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลมาเปรียบเทียบกับผลการสอบผ่าน ในขั้นตอนที่ 1</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า มีจำนวนนิสิตที่เข้าสอบครั้งแรก จำนวน 498 คน แบ่งเป็น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 162 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 170 คน จากการวิเคราะห์ พบว่าในเกรดเฉลี่ยในชั้นปีที่ 3 ≥ 3.5 และ นิสิตในกลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 สรุป เกรดเฉลี่ยในชั้นปีที่ 3 ≥ 3.5 และ นิสิตในกลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์ กับการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5257 แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2024-10-30T15:10:19+07:00 ภาวนา แป้นสุวรรณ 62603047@kmitl.ac.th บุญจันทร์ สีสันต์ 62603047@kmitl.ac.th ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ 62603047@kmitl.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเสริมสร้างพลังอำนาจครู และ 2) สร้างแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการของครู จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร 4 คน และครู 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกข้อมูล สร้างข้อสรุป และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของครูในการเสริมสร้างพลังอำนาจ ได้แก่ การให้แรงจูงใจ การส่งเสริมความร่วมมือในองค์กร การสร้างภาวะผู้นำ การสร้างบรรยากาศที่ดี และการสร้างทีมงาน และ 2) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการพัฒนา (สอดคล้องกับ 5 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น) และ เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบายและหน้าที่ของครู การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ที่จำเป็น การประเมินผลที่โปร่งใส การให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ การเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วม และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5416 ความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบภาวะผู้นำครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2024-11-27T19:38:48+07:00 จิรภาส กีบสันเทียะ aechiraphas@gmail.com อำภาพรรณ ตันตินาครกูล ampapan.tu@kmitl.ac.th บุญจันทร์ สีสันต์ boonchan.si@kmitl.ac.th <p>ภาวะผู้นำครูมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติงานของเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบภาวะผู้นำครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือครูจำนวน 314 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำครูมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2) การมีส่วนร่วมในการพัฒนา 3) ผู้นำทางวิชาการ 4) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 6) คุณลักษณะของครูที่ดี ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี Chi Square = 418.406, df = 393, relative Chi Square = 1.065, p = .181, RMSEA = .014, RMR = .017, GFI = 0.938, NFI = 0.978 สะท้อนถึงความเหมาะสมของโมเดล องค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตามด้วย ผู้นำทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะของครูที่ดี ผลการวิจัยยืนยันว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำครูมีโครงสร้างที่เหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5251 ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการเป็นผู้ประกอบการ และแนวทางการพัฒนา ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2024-10-29T06:26:02+07:00 ณัฏฐนันท์ ตรีรัตน์ nutthanan.n@op.kmutnb.ac.th เสาวณิต สุขภารังษี nutthanan.n@op.kmutnb.ac.th <p> </p> <p style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">1) <span lang="TH">ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อทัศนคติการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา </span>2) <span lang="TH">ศึกษาความรู้พื้นฐานด้านผู้ประกอบการที่มีผลต่อทัศนคติ และ </span>3) <span lang="TH">ศึกษาแนวทางพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการในระดับอุดมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงผสมผสานวิธีด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก จำนวน </span>376 <span lang="TH">คน ซึ่งสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน และผู้บริหารและอาจารย์ </span>7 <span lang="TH">คนแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในที่มีผลต่อทัศนคติการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ความสามารถวางแผนงานอย่างเป็นระบบ การพัฒนาโครงการที่ต่อยอดเชิงพาณิชย์ และการตัดสินใจด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ แนวโน้มสังคมที่สนับสนุนความสะดวกสบายและค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานที่มีผล ได้แก่ ด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชี การตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับแนวทางการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย ได้แก่ </span>1) <span lang="TH">การเพิ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะ </span>Soft Skills 2) <span lang="TH">บูรณาการการสอนด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ </span>3) <span lang="TH">ส่งเสริมอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านผู้ประกอบการ </span>4) <span lang="TH">เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริม </span>5) <span lang="TH">จัดประกวดผลงานและส่งเสริมความร่วมมือกับศิษย์เก่า </span>6) <span lang="TH">สร้างโรงประลองเพื่อฝึกปฏิบัติ </span>7) <span lang="TH">สนับสนุนที่ปรึกษาด้านผู้ประกอบการ และ </span>8) <span lang="TH">จัดตั้งกองทุนสนับสนุนธุรกิจนักศึกษา</span></span></p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5511 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผัง มโนทัศน์ ที่ส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2024-12-11T11:21:32+07:00 ขวัญชนก เขตบุรี kwanchanok.kbr@gmail.com วราพร เอราวรรณ์ waraporn.erawan@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ ที่ส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เรื่องอะตอมและสมบัติของธาตุ จำนวน 9 แผน 14 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Dependent t-test<strong> </strong></p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำแผนผังมโนทัศน์มาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา และขั้นที่ 3 อธิบาย ช่วยส่งเสริมความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในด้านการลงข้อสรุปได้ และช่วยตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสามารถสำรวจสถานการณ์หรือปัญหาและการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นของนักเรียน และผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" />= 4.44, <em>SD</em>=0.27) และ 2) นักเรียนมีความสามารถการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5250 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี 2024-11-06T05:46:28+07:00 อธิราช หิรัญสาลี 63603022@kmitl.ac.th อำภาพรรณ ตันตินาครกูล 63603022@kmitl.ac.th ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ 63603022@kmitl.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำนวน 371 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการทำงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความสุขในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงาน (X<sub>2</sub>) ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X<sub>5</sub>) ปัจจัยด้านผู้นำและองค์การ (X<sub>4</sub>) และปัจจัยด้านค่านิยมส่วนบุคคล (X<sub>1</sub>) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 48.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้</p> <p> สมการคะแนนดิบ = 0.910 + 0.252(X<sub>2</sub>)** + 0.202(X<sub>5</sub>)** + 0.192(X<sub>4</sub>)** + 0.147(X<sub>1</sub>)**</p> <p> สมการคะแนนมาตรฐาน y = 0.300(X<sub>2</sub>)** + 0.260(X<sub>5</sub>)** + 0.239(X<sub>4</sub>)** + 0.115(X<sub>1</sub>)**</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5290 การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหา 2025-02-20T19:20:34+07:00 สายสุดา เรืองชา saimaiirch@gmail.com ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล chaninan@g.swu.ac.th <p>งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหา เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบบันทึกหลังสอน และแบบบันทึกอนุทิน จัดการเรียนรู้ 4 วงจรการปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียน (M = 28.45, <em>SD</em> = 0.50) อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าก่อนเรียน (M = 11.74, <em>SD</em> = 0.97) ที่อยู่ในระดับปานกลาง 2) การจัดการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบปัญหาเกี่ยวกับการระบุปัญหา การทำความเข้าใจสถานการณ์ของนักเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนและการสืบค้นข้อมูลทำให้ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ 3 แนวทาง ได้แก่ 2.1) การใช้คำถาม “ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร มีเงื่อนไขว่าอย่างไร” ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุปัญหาได้ชัดเจนขึ้น 2.2) การสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเห็นความสำคัญของปัญหา จะช่วยให้นักเรียนแสดงทักษะการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น และ 2.3) คำชี้แจงหรือแนวทางในการสืบค้นข้อมูล จะช่วยให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น แนวทางดังกล่าวช่วยให้นักเรียนเห็นความสำคัญของปัญหา ระบุปัญหาและแก้ปัญหาได้ดีขึ้นในวงจรปฏิบัติการต่อไป</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5254 การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2024-10-30T15:29:13+07:00 ชมแข พงษ์เจริญ chphon@rpu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) จำแนกตามข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 322 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ด้วยสถิติที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบทบทวน กำกับ ติดตาม การใช้แหล่งเรียนรู้ ด้านสรุปและรายงานผลการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการดำเนินงานสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน ที่แตกต่างกัน พบว่าการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-04-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม