https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/issue/feed วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย 2024-12-24T10:36:03+07:00 ดร.อำนวย บุญรัตนไมตรี amnuay.boo@rmutr.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย</strong></p> <p><strong>Journal of Contemporary and Interdisciplinary Management</strong></p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 3 ฉบับต่อปี</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารมีนโยบายฯ รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ สหวิทยาการ ด้านการบริหารการศึกษา การจัดการ การบริหารธุรกิจ สหวิทยาการร่วมสมัย รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และอื่นๆ อีกหลากหลายสาขาวิชา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/4989 แนวทางการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2024-09-19T15:13:46+07:00 กมลชนก ชูเนียม kamonchanokchuniam@gmail.com ชวน ภารังกูล Kamonchanokchuniam@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารการมีส่วน ร่วมของครูใน สถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 92 แห่งได้มาโดยการสุ่มได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งชั้นโดยใช้อำเภอเป็นชั้น ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูสถานศึกษาละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 184 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2 เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2. แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2 ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/4966 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 2024-08-28T13:07:56+07:00 อมรเทพ ไทยภักดี thaipakde28@gmail.com พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ thaipakde28@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 19 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 7 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน และครูประจำชั้น จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 133 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 คือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI<sub>modified</sub>) เพื่อจัดลำดับของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความสามารถทางปัญญา มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้ และด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลิกภาพ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางปัญญามี 4 วิธีดำเนินการย่อย ด้านความรู้มี 4 วิธีดำเนินการย่อย ด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงานมี 4 วิธีดำเนินการย่อย และด้านบุคลิกภาพมี 4 วิธีดำเนินการย่อย</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/4968 แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2024-10-10T09:09:28+07:00 วชิราภรณ์ ศรีพันธบุตร tookza25@gmail.com พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ tookza25@gmail.com <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อความต้องการจำเป็นของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษา และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 108 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้อำเภอเป็นชั้น ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และ ครู 1 คน รวมทั้งสิ้น 216 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารที่ดี รองลงมาคือ ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ด้านความผูกพัน ด้านความเชื่อถือระหว่างกัน ด้านทักษะที่เกี่ยวข้อง ด้านทักษะในการเจรจา ด้านการสนับสนุนจากภายในและภายนอก และด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม 2) แนวการพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ประกอบด้วย 8 ด้าน คือ ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ด้านทักษะที่เกี่ยวข้อง ด้านความเชื่อถือระหว่างกัน ด้านความผูกพัน ด้านการสื่อสารที่ดี ด้านทักษะในการเจรจา ด้านภาวะผู้นาที่เหมาะสม และด้านการสนับสนุนจากภายในและภายนอก</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/5485 แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเพชรบุรี 2024-12-04T09:37:35+07:00 ณัฏฐ์ชุดา สามา jira.chananchana@gmail.com <h1 style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; font-weight: normal;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรีและ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากร จำนวน 162 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 132 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเพชรบุรี ที่จำเป็นมากที่สุดและลองลงมา พบว่า (ก) ควรมีการจัดให้มีการสัมมนาอบรม ให้ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการบริหารงานวิชาการเพื่อให้การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพ (ข) ควรส่งเสริมครูผู้สอนมีทักษะด้านการวิจัยที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน(ค)ควรสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคคลหรือกลุ่มคนในหลาย ๆ รูปแบบ (ง) ควรมีการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนที่มีพื้นฐานความสามารถที่แตกต่างกันและผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา</span></h1> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/5484 สมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2024-12-04T09:39:31+07:00 วุฒิชัย สวิพันธุ์ jira.chananchana@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) เพื่อศึกษาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 คน โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ด้านสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ด้านสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ (X<sub>1</sub>) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (X<sub>2</sub>) การตัดสินใจ (X<sub>4</sub>) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (X<sub>5</sub>) และความรับผิดชอบ (X<sub>3</sub>) สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร้อยละ 60.1 (R<sup>2</sup> = .601) โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y′= 1.099 + .236(X<sub>1</sub>) + .228(X<sub>2</sub>) +.141(X<sub>4</sub>) + .126(X<sub>5</sub>) + .063(X<sub>3</sub>) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 𝑍′ = .288(Z<sub>1</sub>) + .269(Z<sub>2</sub>) +.181(Z<sub>4</sub>) +.172(Z<sub>5</sub>) +.081(Z<sub>3</sub>)</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย