สมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วุฒิชัย สวิพันธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) เพื่อศึกษาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 คน โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ด้านสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ด้านสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ (X1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (X2) การตัดสินใจ (X4) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (X5) และความรับผิดชอบ (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร้อยละ 60.1 (R2 = .601) โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y′= 1.099 + .236(X1) + .228(X2) +.141(X4) + .126(X5) + .063(X3) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 𝑍′ = .288(Z1) + .269(Z2) +.181(Z4) +.172(Z5) +.081(Z3)

Article Details

How to Cite
สวิพันธุ์ ว. . (2024). สมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย, 3(3), 67–75. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JCIM/article/view/5484
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (6 สิงหาคม 2561). เรื่องให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเเละระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), หน้า 335-343.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทางในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการ ศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), หน้า 112-120.

รินดา พงค์นะภา. (2564). สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 14(1), หน้า 281-292.

รัชนี บุญกล่า. (2020). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาอย่างยั่งยืน. Journal of MCU Nakhondhat, 7(8), หน้า 335-343.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). กฎหมายและหนังสือเวียน ก.ค.ศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2565). รายงานประจำปี 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.onesqa.or.th/upload/download/202203291845358.pdf, 25 พฤษภาคม 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจเละสังคมเห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมี การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/2R39e, 25 พฤษภาคม 2565.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง. (2563). คู่มือสมรรถนะข้าราชการ. ม.ป.ท.: ลำปาง.