ประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน ในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามสังกัด กรมสรรพสามิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามสังกัด กรมสรรพสามิต 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำแนกด้วยลักษณะประชากร และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดกรมสรรพสามิตส่วนกลาง จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงเดียวในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามสังกัดกรมสรรพสามิต พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
2) ด้านเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำแนกด้วยลักษณะประชากรพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานในสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามสังกัดกรมสรรพสามิต กับประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน พบว่า เป็นเชิงบวกระดับปานกลางค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2548). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย: สองกระแสความคิดในการบริหารจัดการภาครัฐลูกค้าหรือพลเมือง. รัฐศาสตร์สาร, 7(3), 35 -86.
จิราภรณ์ สีไพร และธนัสถา โรจนตระกูล (สิงหาคม – ตุลาคม 2564) การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาลของเทศบาลตำบลศาลาลายอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 125 -160.
ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยหลักธรรมาภิบาลตามภารกิจ หลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ปทุมธานี, 6 (2), 32-40.
Dunleavy, P. (1991). Democracy, bureaucracy, and public choice. Hemel Hempstead. UK: Harvester Wheatsheaf.
Dunleavy, P., & Hood, C. (1994). From Old Public Administration to New PublicManagement. Public Money and Management, 14(3), 9 - 16.
Peters, B. G., & Pierre, J. (1998). Governance without Government? Rethinking Public Administration. Journal of Public Administration Research and Theory, 8(5), 223-243.
Robbins, S. P. (1996). Organizational Behavior: Concepts, Controversies, Applications. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Schein, E. H. (1968). Organizational Socialization and the Profession of Management. Industrial Management Review, 9(8), 1-6.
Theodore, C. (1964). Principles of Organization. N.Y.: Harcourt Brace & World.