คุณภาพชีวิตของข้าราชการสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในยุคดิจิทัล สังกัดในพื้นที่จังหวัดภาคใต้

Main Article Content

วิชชุดา โพธิ์สุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ของข้าราชการกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือภาคใต้ ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน  ผลการวิจัยพบว่า
          1. ด้านประเมินคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทยพบว่า อยู่ในระดับมาก
          2. ด้านเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร
          3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ของข้าราชการกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการในยุคดิจิทัลสังกัด สำนักงานพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย พบว่า เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
Research article

References

สุรชัย แก้วพิกุล. (2552) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ.กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พยอม สดใส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการส่วนภูมิภาคสังกัดกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

ผจญ เฉลิมสาร. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงาน. สืบค้นจาก www.society.go.th/article_attach.

Das, D. (2008). Urban Quality of Life: A Case Study of Guwahati. Social Indicators Research, 88(2), 297-310.

Dawes, J. (2008). Do Data Characteristics Change According to the Number of Scale Points Used? An Experiment Using 5-Point, 7-Point and 10-Point Scales. International Journal of MarketResearch, 50(1), 61-104.

Diener, E. (2006). Guidelines for National Indicators of Subjective Well-being and Ill-being. Journalof Happiness Studies: An Interdisciplinary Forum on Subjective Well-Being, 7(4), 397–404.

Somarriba, N., & Pena, B. (2009). Synthetic Indicators of Quality of Life in Europe. SocialIndicators Research, 94(1), 115-133.