การจัดการความเสี่ยงของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี

Main Article Content

ยิ่งยศ ภูษิตกาญจนา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินการจัดการความเสี่ยงของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการ พนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรีที่มีต่อการจัดการความเสี่ยง จำแนกด้วยลักษณะประชากร และ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความเสี่ยงของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 200 คน เป็นผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ และพนักงาน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านการจัดการความเสี่ยงของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (2) ด้านความคิดเห็นของข้าราชการ พนักงาน เทศบาลเมืองกาญจนบุรีที่มีต่อการจัดการความเสี่ยง จำแนกด้วยลักษณะประชากร พบว่า ไม่มีความแตกต่าง และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความเสี่ยงของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยง พบว่า เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research article

References

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. ทีพีเอ็น เพรส.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2553). การคลังเพื่อสังคมจินตนาการและการวิจัยเพื่อสังคมที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558). ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงองค์กร. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 2(2), หน้า 1-15.

วิทยา อินทร์สอน. (2566). การบริหารความเสี่ยงในองค์กร (Enterprise Risk Management: ERM). เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=553&section=1&issues=26, 3 กันยายน 2566.

สุนันทภรณ์ พรหมบัว. (2563). การยอมรับเพื่อปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในภายใต้การบริหารความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคใต้ของไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงเทศบาลตำบลบางนอน .(2565). คู่มือการบริหารจัดการความเสี่ยง. เทศบาลตำบลบางนอน, ระนอง.

MGR Online. (2563). กกต. เชิญชวนใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2563. เข้าถึงได้จาก: https://www.mgronline.com, 1 เมษายน 2564.

Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2004). Enterprise Risk Management: Integrated Framework Executive Summary. Retrieved From: http://www.coso.org/documents/coso_erm_executivesummar.pdf, September 3, 2023.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins. Publishers.

Nel Danielle. (2019). Risk Management in the South African Local Government and Its Impact on Public Services delivery. International Journal of Management Practice, Inderscience Enterprises Ltd., 12(1), pp. 60-80.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, pp. 49-60.

Yamane Taro. (1973). Statistics An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.