ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด

Main Article Content

ศิริญญา ลื้อยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด(2) เพื่อประเมินสมรรถนะของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 160 คน มีขั้นตอนการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร่  ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน โดยเครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) สมรรถนะของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (3) แนวทางในการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุดจาเป็นต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถของตัวเองโดยการจัดลาดับความสำคัญของงาน วิเคราะห์เป้าหมายของงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้/พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อนำมาพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิผล มีการสื่อสารที่ชัดเจน หน่วยงานควรให้การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน ส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาต่อโดยมีทุนการศึกษาให้ มีการปลูกฝังให้บุคลากรรักในงานที่ทา มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รู้จักแก้ปัญหาและพร้อมเผชิญกับปัญหาทุก จนไปถึงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและนามาพัฒนาปรับปรุงตนเองเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญบุคลากรควรปฏิบัติงานโดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และประชาชนผู้มาติดต่อราชการ

Article Details

บท
Research article

References

ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชา

การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2 ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

นิธิธร ทรัพย์อัคร. (2560). ปัญหาในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.เอ. กรุ๊ป-88 จำกัด. (การค้นคว้า

อิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพมหานคร.

บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). (การเมืองการปกครอง)

สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

ปทุมธานี.

ผกามาศ เอ็มประโคน. (2558). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรเทศบาล ในเขตอำเภอประโคนชัย

จังหวัดบุรีรัมย์, (สารนิพนธ์หลักสูตรหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชารัฐ

ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

พรรณพิตรา เสริมศรี. (2559). การศึกษาความคิดเห็นลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา

ข้าราชการสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (การค้นคว้าอิสระ

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต) (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและ

กิจการสาธารณะสาหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

พรพิมล พิทักษธรรม. (2559). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา โรงแรมคอลัมนแบงค็อก

กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์

การ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพมหานคร.

พิไลวรรณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2561). การประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน การ

คลัง ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, นนทบุรี.

ศตวรรษ กล่าดิษฐ์. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

สมบัติ นามบุรี. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. (บทคัดย่อ), วารสารวิจัย

วิชาการ, (2), 121.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. สืบค้นจาก http://www.ocsc.go.th/sits/default/fles/attachment.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2564). ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการ

สูงสุด. สืบค้นจาก https://www2.ago.go.th/index.php/about.

Boydell, T. (1985). The management of learning. London: Kogan Page.

Mcguire, D. (1990). The learning organization. London: Gower.

Megginson, D., & Pedler, M. (1992). Self-development in organizations. London: Routledge.