สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริกัญญา ลีแสน
ชนมณี ศิลานุกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน           และวิทยฐานะ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แนวคิดจาการสังเคราะห์เกี่ยวกับสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ครู โรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 357 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า
          1. สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
          2. ครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและมีวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research article

References

กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. (2562). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

จีรพรณัฏฐ์ ภุมรินทร์ และสายสุดา เตียเจริญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 11(1), 207-223

ณัฐธีรา มีจันทร์. (2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิรัชชา คงประดิษฐ์และจุฑารัตน์ คชรัตน์. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13.

นิธิวดี แพรวัฒนะสุขและสุภาวดี ลาภเจริญ. (2565). การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensamn Academi. 7(6).

ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล ไพบูลย์ ช่างเรียน และติน ปรัชญพฤทธิ์. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 5(2), 174-189

ประดิษฐ์ เอกทัศน์ สมาน เอกพิมพ์และขวัญชัย ขัวนา. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะผู้บริหารระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 26(2), 51-64

พิชามญชุ์ ลาวชัย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชญ์สินี โภชนุกูลและเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2564). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(3).

ภานุวัฒน์ นิลศรีและจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(3), 24-37

ลดาวัลย์ รุ่งเรืองและชวน ภารังกุล. (2563). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 3(2), 6-20

วิไลพร ศรีอนันต์. (2559). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร.(2564). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ร้านพจน์กล่องกระดาษ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.). (2549). หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. [Online] เข้าถึงได้จากhttp://circular.otepc.go.th/v1_t_circualr_book_list.php?goto=24. [15 ธันวาคม 2565]

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพงษ์ แซ่ท้อ. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ยุคใหม่. Journal of Modern Learning Development. 7(2), 426-437

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Method in Education (7th ed.).

New York: Morrison.Teacher, Vol.63 NO.5, (p306-307)