วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ <p> </p> <p>ISSN : 3027-8511 (Print)</p> <p>ISSN : 3027-8570 (Online) </p> <p>วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา จะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับด้านนวัตกรรมการบริหารการศึกษา ที่ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา นวัตกรรมหลักสูตรและการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ และเทคโนโลยีการศึกษา ทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา </p> <p> </p> th-TH Amnuay.t1964@gmail.com (ดร.อำนวย บุญรัตนไมตรี) paewphan.rcim@gmail.com (นางสาวแพรวพรรณ พระพานะ) Wed, 11 Dec 2024 14:06:08 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5461 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้(1)เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์(2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน และ(3)เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 910 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า(1)ด้านระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(2)ด้านการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ (3)ด้านแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลควรมีการวางแผน(Plan) ลงมือปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปรับปรุง (Act)</p> สุภัสสร อินทร์แสง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5461 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5458 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 (2)เพื่อเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 จำแนกตามสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ทดสอบค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือด้านการบริหารงานบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านด้านการบริหารงานวิชาการ และ ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ 2)ผลการเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงบประมาณและ ด้านการบริหารบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> รัตติกาล แนบน่วม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5458 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5459 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 (2)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD<br /> ผลการวิจัย (1)ประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1)ด้านการบริหารงานวิชาการ 2)ด้านการ บริหารงบประมาณ 3)ด้านการบริหารงานบุคคล และ 4)ด้านการบริหารงานทั่วไปโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการบริหาร งบประมาณ รองลงมาคือด้านการบริหารงานทั่วไป (2)ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศ ของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำแนกตามวุฒิ การศึกษา ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน พบว่าบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์และขนาดโรงเรียนต่างกันมีประสิทธิภาพการใช้ ระบบสารสนเทศของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธาวิน เรืองวิเศษ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5459 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5460 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 (2)เพื่อเปรียบเทียบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์และขนาด โรงเรียนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD <br /> ผลการวิจัย (1)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่าอยู่ในระดับ มากทุกขั้นตอน (2)ผลการเปรียบเทียบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์และขนาดโรงเรียน พบว่าผู้บริหารและครูที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 ที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีระดับการปฏิบัติระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กนกวรรณ ภูฆัง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5460 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 นโยบายส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5126 <p>บทความเรื่อง“นโยบายส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร”มุ่งศึกษานโยบายด้านการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เพื่อศึกษาประเด็นต่าง ๆ ในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ และศึกษาภาพสะท้อนแนวคิดต่าง ๆ ที่ปรากฏในนโยบายการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของรัฐบาล โดยการศึกษาเอกสารจากคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา พบว่า รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายตั้งแต่การพัฒนาทักษะในวัยเด็ก การจัดการเรียนแบบยืดหยุ่น การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ การสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้จริงใน การสร้างรายได้ การลดภาระและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา การส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษา การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดจากระบบการศึกษา การปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสนับสนุนนโยบายอำนาจละมุน (Soft Power) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม การกำหนดมาตรการทางภาษีมาสนับสนุนการศึกษา ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ฝึกอาชีพในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible Learning) ที่มุ่งให้เกิดการเรียนเพื่อสร้างรายได้ (Learn to Earn) อันเป็นแนวทางการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวม ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลมีเพียงข้อมูลเบื้องต้น แต่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นมิติกระบวนการของนโยบาย</p> เตชวัน ปัญญาวุฒิธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/EAIJ/article/view/5126 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700