วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa
277 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200th-THวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและอาหารแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3246
<p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและอาหารแปรรูปตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่างคือ ผู้บริโภคน้ำพริกหมูฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Chi-square test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนใหญ่มีระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ สำหรับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่แสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ เป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ พบว่า ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ รายได้ เหตุผลในการเลือกซื้อ และผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อน้ำพริกหมูฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>พัชญ์ธน ทวีโชติธนพัชร์รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์พิณนภา หมวกยอดภาวิณี อารีศรีสมกอบลาภ อารีศรีสม
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-0752111บทบาทสตรีกับการพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเพิ่มโอกาสกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อการสร้างรายได้ที่มั่นคง ในพื้นที่ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3407
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทสตรีกับการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนและสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและแนวทางต่อการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในการพัฒนากลุ่มอาชีพ บ้านนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลบทบาทกลุ่มสตรีและการพัฒนาอาชีพ โดยวิธีการทำแผนที่ทางเดินชีวิต แผนที่เดินดิน การทำปฏิทินระบบการผลิต การวิเคราะห์รายรับรายจ่ายด้วยเครื่องมือโอ่งชีวิต การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือกลุ่มอาชีพสตรี จำนวน 10 คน และการศึกษาด้วยวิธีการสนทนากลุ่มเล็ก</p> <p>ผลการดำเนินงาน พบว่า บทบาทสตรีกับการพัฒนาอาชีพ ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม การวาดแผนที่ทางเดินชีวิต การวิเคราะห์บทบาทสตรีกับการพัฒนากลุ่มอาชีพ ด้วยเทคนิคโอ่งชีวิต วิเคราะห์รายรับรายจ่ายของกลุ่มอาชีพ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ แนวทางการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาชีพ มีการแบ่งหน้าที่ของกลุ่มสตรี การวางแผนการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน การขอรับรองการเป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล แนวทางการเพิ่มโอกาสกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า บทบาทกลุ่มสตรีหรือกลุ่มอาชีพ มีความตระหนักต่อประเด็นของการรวมกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีโครงสร้างคณะทำงานระดับพื้นที่ (ผู้ก่อการดี) จำนวน 10 คน แนวทางการพัฒนาตลาดชุมชน แนวทางตลาดออนไลน์ เพื่อจำหน่ายสินค้า 4 ประเภท เช่น ผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม ขนม อาหารพื้นบ้าน จักสาน อาหารทะเลแปรรูป เพิ่มยอดจำหน่าย 10,000-15,000 บาท/ต่อเดือน ได้รับการจดทะเบียนรับรองเป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา</p>สนธยา ปานแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07521227พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานของเทศบาลตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3799
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ในเทศบาลตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอยู่ในระดับมาก 2) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันระหว่างการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 และการพัฒนาสมรรถนะ (R=.955) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1. ฉันทะ การกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจน 2. วิริยะ ความพยายามและแรงบันดาลใจในการทำงาน 3. จิตตะ การเอาใจใส่และสมาธิในการทำงาน 4. วิมังสา การใช้วิจารณญาณและความรอบคอบในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ</p>วีรวัฒน์ ภูเลื่อนนพดณ ปัญญาวีรทัตอภิรมย์ สีดาคำ
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07522840การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3823
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการป่าชุมชน 2) ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชน 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มองค์กร/หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 17 คน โดยการรวบรวมข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลภาคสนาม มีการสำรวจพื้นที่ การสังเกต การสัมภาษณ์ แล้วทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่ศึกษา จากนั้นนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา</p> <p>จากผลการศึกษาพบว่า บ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ป่าชุมชน 1,000 ไร่ มีสภาพป่าที่มีศักยภาพเป็นแหล่งอาหารป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดปีและมีการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ของคนในชุมชน แต่งตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนอย่างชัดเจน การบริหารจัดการป่าชุมชนที่เน้นกลไกการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและน้อมนำการประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 7 ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน สำหรับแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อการพึ่งพาและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ ที่อยู่เหมาะสม การคมนาคมเหมาะสม การพูดคุยเหมาะสม บุคคลเหมาะสม อาหารเหมาะสม อากาศเหมาะสม และอิริยาบถเหมาะสม</p>สุนันทา ธรรมเสนาประเสริฐ ปอนถิ่นอภิรมย์ สีดาคำ
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07524151กลยุทธ์การบริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/4575
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การวิเคราะห์ระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานบริหารงานบริการสาธารณะแบบพหุภาคี 2) การศึกษาแนวทางการบริหารงานการบริการสาธารณะในรูปแบบพหุภาคี และ 3) การพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานบริการสาธารณะแบบพหุภาคีในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง งานวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกอย่างเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารและผู้นำชุมชนใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเวียงตาล, ตำบลเมืองยาว, ตำบลปงยางคก, และตำบลห้างฉัตรแม่ตาล รวมทั้งประชาชนจำนวน 100 คน งานวิจัยเชิงปริมาณถูกรวบรวมผ่านแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยรวมกับการใช้เครื่องมือ SWOT และ TOWS Matrix</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานการบริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) การบริหารงานการบริการสาธารณะมีความโดดเด่นในทุก ๆ ด้าน เช่น การนำองค์กร, การวางแผนเชิงกลยุทธ์, การจัดการความรู้, การพัฒนาบุคลากร, และการประเมินผลการดำเนินงาน โดยรวมภาพอยู่ในระดับสูงสุด 3) กลยุทธ์การบริหารที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก, กลยุทธ์เชิงแก้ไข, กลยุทธ์เชิงป้องกัน, และกลยุทธ์เชิงรับ</p>นิวัฒน์ ปะระมาวีณา นิลวงศ์กอบลาภ อารีศรีสมรภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ภาวิณี อารีศรีสม
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07525264A Phonological Study of Burmese Language Spoken by Migrant Workers in Talaad Thai Market of Thailand
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3788
<p>This thesis, titled "A Phonological Study of the Burmese Language Spoken by Migrant Workers in Talaad Thai Market, Thailand," explores the phonological variations in Burmese as used by migrant workers. The study's objectives are: (1) to examine sound variations in the Burmese language spoken at Talaad Thai market in Pathum Thani, Thailand; (2) to identify factors influencing these variations, comparing them to Burmese speakers at Bahan market in Yangon, Myanmar; and (3) to analyze similarities and differences between the two groups. Data were collected through in-depth interviews with 40 key informants from both locations, focusing on the sound system of consonants, vowels, and tones.</p> <p>The findings reveal significant phonological variations, offering valuable insights into language typology, preservation, and education in the context of Myanmar. Differences in pronunciation, vocabulary, and individual speech patterns were observed, influenced by factors such as age, education, and social background. Distinct vocabulary choices and pronunciation styles emerged as major points of variation. The research systematically presents unique responses from key informants, detailing their views, feelings, and usage of Burmese in daily life. Specific linguistic features, including eleven categories of frequently used words related to markets, kinship terms, and essential vocabulary, are highlighted to complement the study. This work contributes to a deeper understanding of Burmese phonology, shedding light on linguistic dynamics across different sociolinguistic contexts.</p>SumanaVeerakarn KanokkamaladeSakchai Posai
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07526576A Morphological Study of Burmese Words Used in Sagaing Division of Myanmar
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3793
<p>The purposes of the study are: 1) to investigate the morphological system of Burmese in Sagaing Division of Myanmar; 2) to compare the morphological system with standard Burmese language. This thesis is concerned with documentary research and qualitative research. The data is gathered by in-depth interviews and an informal focus group, individual discussions and observations of the officers on-duty. The population of the study were totally 380 divided students and villagers who lived in Thaung Gyi village of Sagaing Division. The samples of the study included totally 191 students and villagers got by the purposive sampling method. Statistics for analysing data included Percentage, Mean and Standard Deviation (S.D.).</p> <p>The findings of the study were found as follows: The researcher found that firstly, the finding of morphological words explored data in two categories such questionnaires were male and female information stated.</p> <p>For the secondly, the researcher found that the result of test in the difficulty of word class compound used in both languages was at “very little” level of evaluation such “car-wheel”, “language school”. For the difficulties of Superordinate-Subordinate compound of Burmese list used at “very little” level of evaluation such “robber-man and teacher-house”. The compound of Burmese morphology list used at very little with the words such “working-place and monastery-ground”. The semantic compound Burmese morphology list used at “very little” level of evaluation such “happiness and mind reader”. The difficulties of rhyming compound forms of Burmese morphology list were at “very little” level of evaluation such “Poison pen letter and delusion way”. The difficulties of affixed compound nouns of Burmese morphology list were at “very little” level of evaluation such “drinking water and eating and drinking”. The difficulties of nominalization of Burmese morphology list were at “very little” level of evaluation such “development party and teaching method”. The difficulties of reduplication of Burmese morphology list used in each language was at very little level of evaluation such “think tank and liberation activities”.</p>Are The BaNarongchai PintrymoolSakchai Posai
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07527787The Variations of Burmese Language Based on Age: A Case Study of Burmese Language Used in Shwe Bo District of Myanmar
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/3770
<p>This research aimed to: 1) examine age-based variations in the Burmese language used in Shwe Bo District, Myanmar, and 2) analyze these variations. A mixed-methods approach was employed, combining quantitative and qualitative techniques. Data were collected using questionnaires from 226 respondents and in-depth interviews with 10 villagers. Quantitative data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation (S.D.), while qualitative data were analyzed through content analysis.</p> <p>The findings revealed that 100 respondents were male and 126 were female. Most respondents were aged 18–30 (90 individuals, 39.82%), followed by 31–40 years (100 individuals, 44.24%), and over 40 years (36 individuals, 15.92%). For the first objective, participants reported significant challenges with age-based language variations in the Burmese language. The average score was high (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.56, S.D.=0.947). For the second objective, most participants strongly agreed with the analysis of variations, resulting in a very high average score (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.28, S.D.=0.458).</p>Ven SusitetaSakchai PosaiNarongchai Pintrymool
Copyright (c) 2024 วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-072024-12-07528898